หน้า:ข้อกำหนดตาม ม ๙ (ฉ ๔๗, ๒๕๖๕-๐๗-๒๗).pdf/4

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑๗๕ ง

๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕
หน้า ๑๗๒
ราชกิจจานุเบกษา

ข้อ ๖ การเตรียมความพร้อมเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรคโควิด - 19 จากโรคติดต่ออันตรายไปสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด - 19 จากโรคติดต่ออันตรายไปสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสามารถรับมือ ปรับตัว และดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย ภายใต้หลักการและแนวคิดที่ว่า “ประชาชนปลอดภัย เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง ประเทศไทยแข็งแรง” ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 ดำเนินการ ดังนี้

(๑) เตรียมความพร้อมเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรคโควิด - 19 จากโรคติดต่ออันตรายไปสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อและประสานการปฏิบัติกับทุกภาคส่วนเพื่อกำหนดนโยบาย วางระบบ แผนปฏิบัติการ แนวทางปฏิบัติ และกลไกในการกำกับติดตามและประเมินผลในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด - 19 ที่ครอบคลุมทั้งมาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุข มาตรการทางสังคมและองค์กร มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการด้านการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี นำไปปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ ให้สอดคล้องกับแนวทางที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาล หรือ ศบค. กำหนดหรือได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว

(๒) ประสานการปฏิบัติกับศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดการฉีดวัคซีนเชิงรุกในทุกกลุ่มเป้าหมายประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจาตัวหรือโรคเรื้อรังตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หญิงมีครรภ์ (กลุ่ ม ๖๐๘) และเด็กเล็กซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรับวัคซีนได้ โดยให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี กำกับติดตามการฉีดวัคซีนให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข ที่นายกรัฐมนตรี รัฐบาล หรือ ศบค. กำหนดหรือได้พิจารณาเห็นชอบ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป

  • ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
  • พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • นายกรัฐมนตรี