หน้า:คดีอาญา - ถวิล ระวังภัย - ๒๔๗๗.pdf/11

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

สัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกรุงสยามกับสหปาลีรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๔๖๕. การมีหนังสือสัญญากับรัฐบาลต่างประเทศว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนี้เกิดจากลัทธิความคิดเห็นของบางประเทศ เช่น เบลเยี่ยม, อังกฤษ และอเมริกา ว่า จะมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันโดยไม่มีหนังสือสัญญาไม่ได้. แต่ลัทธิความเห็นบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส, อาเยนไตน์, เบรซิล ว่า ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือสัญญากันก็ส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันได้. อันที่จริง, ประโยชน์ของการมีหนังสือสัญญาต่อกันก็มีอยู่มาก คือ ทำให้การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเกิดเป็นหน้าที่จำเป็นต้องทำ, มีกำหนดกฎเกณฑ์และวางระเบียบพิธีการที่ต้องทำ ดังนี้, เป็นการขจัดปัญหาในการโต้แย้งกันและปัญหาการชักช้าด้วย, เป็นการป้องกันมิให้ประเทศใหญ่กดขี่ประเทศน้อย. นอกจากนี้, ยังได้ประโยชน์ในการป้องกันผู้ร้ายด้วยโดยทำให้บุคคลคิดทุจจริตทราบชัดทีเดียวว่า ตนจะหนีพ้นอาชญาไปไม่ได้.

ข. เกิดจากกฎหมาย เช่น ประเทศสยามมีพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๔๗๒, ประเทศเยอรมันมีบัญญัติในประมวลอาชญา มาตรา ๙, สหปาลีรัฐอเมริกามีกฎหมายฉะบับหลังที่สุดลงวันที่ ๓ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๖๙ และวันที่ ๑๙ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๗๖, ประเทศอังกฤษมี Extradition Acts ฉะบับหลังที่สุดลงวันที่ ๔ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๐๖, ประเทศอินเดียมีกฎหมายฉะบับหลังที่สุดในปี ค.ศ. ๑๙๑๓ (Acts I of 1913), ประเทศอิตาเลียมี