หน้า:คดีอาญา - ถวิล ระวังภัย - ๒๔๗๗.pdf/17

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐

เอกฉันท์เหมือนกันหมด คนไทยกระทำความผิดมีโทษอาชญาในพระราชอาณาจักรสยาม แล้วหลบหนีไปอาศัยในดินแเดนต่างประเทศ ศาลของประเทศสยามมีอำนาจที่จะพิพากษาจำเลยได้ ความผิดอยู่ในประเภทที่ส่งข้ามแดนได้ เมื่อได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามพิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว ประเทศผู้รับคำขอให้ส่งตัวจะต้องส่งตัวจำเลยผู้นั้นให้แก่ประเทศสยามเพื่อพิจารณาลงโทษจำเลยตามทางการ

 ข. ผู้หลบหนีเป็นคนสัญชาติของประเทศผู้รับคำขอ ตามหลักที่นิยมกันโดยทั่วไป ประเทศหนึ่งย่อมไม่ส่งตัวบุคคลสัญชาติของตนซึ่งทำผิดมีโทษอาชญาในต่างประเทศ หลักอันนี้มีกล่าวอยู่ในหนังสือสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนแทบทุกฉะบับที่ทำกันในทวีปยุโรป เช่น ประเทศเยอรมัน, ประเทศเบลเยี่ยม, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศฮอลันดา, ประเทศอิตาเลีย ฯลฯ นอกจากนี้ บางประเทศยังมีกล่สวไว้ในประมวลกฎหมายอาชญาและในกฎหมายพิเศษว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เช่น ประมวลอาชญาเยอรมัน มาตรา ๕ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนของเบลเยี่ยม ฉะบับลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๗๔ มาตร ๑ ประมวลอาชญาอิตาเลีย ค.ศ. ๑๙๓๑ มาตรา ๑๓ กฎหมายญี่ปุ่น ฉะบับลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๘๗ มาตรา ๑ สำหรับในประเทศสยาม ในพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๔๖๗ ก็ได้วางหลักการไว้ในมาตรา ๑๓ และ ๑๗ ยอมให้ศาลรับ