หน้า:คดีอาญา - ถวิล ระวังภัย - ๒๔๗๗.pdf/25

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๘

ปัญหาในเรื่องที่กล่าวข้างต้นนี้จะมีขึ้นได้ฉะเพาะในประเทศที่ถือหลักการไม่ยอมส่งคนสัญชาติของตนข้ามแดนเท่านั้น สำหรับประเทศสยาม เข้าใจว่า จะต้องถือหลักตามพระราชบัญญัติแปลงชาติ กล่าวคือ กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ทำผิดกฎหมายของประเทศเดิมไว้ แต่มาเกิดฟ้องร้องกันขึ้นเมื่อเป็นชาติไทยแล้ว ต้องถูกส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนได้ เพราะได้ทำผิดไว้แล้ว (ดู คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ของ พระสารสาสน์ประพันธ์ ในเรื่องผลของการแปลงชาติ)

สภากฎหมายระหว่างประเทศ (Institut de droit International) ในครวประชุมที่ออฟซฟอรดปี ค.ศ. ๑๘๘๐ ได้แนะนำไว้ในเรื่องส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนว่าดั่งนี้ "ในระหว่างประเทศที่ถือกฎหมายอาชญาตามหลักอันเดียวกัน และซึ่งมีความไว้เนื้อเชื่อใจกันในธรรมนูญศาลยุตติธรรมของกันและกัน การยอมส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนย่อมเป็นทางที่จะช่วยให้การพิจารณาคดีอาชญาทั้งหลายดำเนินไปโดยดี เพราะเหตุที่ควรจะถือว่า การให้ศาลแห่งท้องที่เกิดเหตุได้พิจารณาคดีมากทีุ่สดเป็นสิ่งพืงปรารถนายิ่ง"

ถ้ามีปัญหาโต้เถียงกันในเรื่องสัญชาติของผู้หลบหนี เป็นหน้าที่ของประเทศผู้รับคำขอจะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

 ค. ผู้หลบหนีเป็นคนสัญชาติของประเทศอื่น ถ้าบุคคลผู้หลบหนีมิได้มีสัญชาติของประเทศผู้ขอ ทั้งมิได้มีสัญชาติของประเทศผู้