หน้า:คดีอาญา - ถวิล ระวังภัย - ๒๔๗๗.pdf/27

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐

บอกแก่กัน ก็ถือตรงกันข้ามว่า ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยการคัดค้านของประเทศเจ้าของสังกัดที่ไม่ยอมให้อนุมัตินั้น บางทีก็ถือหลักว่า ต้องให้ประเทศผู้ขอตัวปฏิบัติตามระเบียบการส่งผู้ร้ายข้ามแดนอย่างเดียวกับที่ต้องปฏิบัติต่อประเทศเจ้าของสังกัด แบบนี้รัฐบาลอังกฤษเคยใช้เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๕๘ ไม่ยอมอนุมัติให้ประเทศซาร์แดญส่งชาวอังกฤษผู้หนึ่งให้แก่ประเทศฝรั่งเศส โดยพิจารณาหลักฐานแล้วอ้างว่า เอกสารหลักฐานไม่เพียงพอที่จะจับกุมผู้กระทำผิดนั้นได้ในประเทศอังกฤษ

เนื่องจากประเทศเจ้าของสังกัดมีสิทธิจะคัดค้านดังกล่าวมานี้ ประเทศเจ้าของสังกัดจึงมักขอทราบข้อความต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณา เช่น หลักฐานแสดงตำหนิรูปพรรณจำเลย ประเภทความผิดที่ต้องหา และพิจารณาดูว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ ทั้งจะมีการอยุติธรรมแก่พลเมืองของตนอย่างใดหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี สิทธิของประเทศเจ้าของสังกัดในอันจะคุ้มครองป้องกันพลเมืองของตนนี้ต้องอยู่ในเขตต์จำกัดที่จะไม่ถึงขัดกับสิทธิของประเทศอื่นและขัดกับประโยชน์แห่งความอยุตติธรรม

สำหรับประเทศสยามไม่มีหนังสือสัญญาบังคับเจาะจงในเรื่องที่จะต้องขออนุมัติประเทศเจ้าของสังกัด เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น เช่น รัฐบาลฝรั่งเศสขอให้ส่งคนบังคังอังกฤษซึ่งทำผิดในดินแดน