หน้า:คหก ขุนหลวงฯ - ๒๔๕๙.pdf/6

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๔)

เหมือนฉบับที่หมอสมิธพิมพ์ แลทรงทราบว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อว่า เปนหนังสือมีหลักฐาน ในพระราชนิพนธ์หลายแห่ง คือ ในจาฤกฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ซึ่งทรงพระราชอุทิศถวายพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า เปนต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้พระนามพระเจ้าแผ่นดินตามที่เรียกในหนังสือคำให้การของขุนหลวงหาวัดหลายพระองค์ หนังสือเรื่องนี้ ทรงพระราชดำริห์ว่า ฉบับเดิมคงมีหลักฐานอยู่อย่างไรเปนแน่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเชื่อถือ แต่ฉบับที่หมอสมิธพิมพ์ มีผู้ใดได้แทรกแซงเพิ่มเติมจนเลอะเทอะเต็มทีเสียแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายเรื่องหนังสือคำให้การขุนหลวงหาวัดไว้ดังนี้

ครั้นต่อมาถึงรัชกาลปัตยุบันนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ หอพระสมุดวชิรญาณได้หนังสือเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัดที่เปนตัวฉบับหลวงมาเล่มสมุดไทย ๑ ลายมืออาลักษณเขียนตัวรง รู้ได้เปนแน่ว่า เขียนในรัชกาลที่ ๔ ชื่อเรื่องก็ไม่ได้เรียกว่า “คำให้การขุนหลวงหาวัด” เรียกว่า “พระราชพงษาวดารแปลจากภาษารามัญ” ต่อมา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นไชยนาทนเรนทร ประทานสมุดหนังสือเรื่องต่าง ๆ อันเปนของพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท แก่หอพระสมุดสำหรับพระนคร มีเรื่องคำให้การขุนหลวงหาวัดอยู่ในหนังสือพวกนั้น ๔ เล่ม มีรอยตกแก้ เข้าใจว่า เปนลายพระหัดถ์กรมหลวงวงษาฯ ได้เอาฉบับซึ่งหอพระสมุดฯ ได้มาเหล่านี้สอบกับฉบับที่