หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/46

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๓๐)

หลัก คือ ตามปกติ จะต้องมีมูลแห่งสาเหตุเป็นการก่อ ส่วนสาเหตุเพียงใดจะทำความโกรธแค้นถึงกับฆ่าฟันกันนั้น ไม่เป็นของแน่ว่า สาเหตุนั้นหนักเบาแค่ไหนจึงฆ่าฟันกัน โทษข้อนี้เกี่ยวแก่สติ จิตร์ใจ ของผู้ทำเป็นประมาณ บางคนอาจคิดว่า มูลแห่งสาเหตุไม่น่าจะถึงกับฆ่าฟันก็ได้ ในขณะเดียวกัน บางคนเห็นว่า มูลเหตุนั้นสมควรจะฆ่าฟันกันได้แล้ว ก็ได้เช่นกัน

สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ทรงเพียบพร้อมไปด้วยคุณงามความดีดังกล่าวมา ดังนั้น การจะมีสัตรูคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ในมูลเหตุอื่นนั้น ถือได้โดยเด็ดขาดว่า ไม่มีแน่ นอกจากถูกลอบปลงพระชนม์เกี่ยวแก่ในด้านการเมือง พนักงานสอบสวนจึงสอบเหตุผลในด้านการเมือง ได้ความว่า ในระยะนั้น การเมืองในประเทศไทยถึงขั้นยุ่ง มีการตั้งพรรคการเมืองหลายพรรค แต่พรรคการเมืองแม้จะมีหลายพรรค ก็ได้ความว่า เนื้อแท้นั้นมีเพียง ๒ พรรค คือ พรรคประชาธิปตัย และพรรคสหชีพ เพราะพรรคอื่น ๆ อยู่ใครของพรรคสหชีพทั้งนั้น พนักงานสอบสวรความเป็นอยู่ของหัวหน้าพรรคการเมืองแต่ละพรรค คงได้ความว่า นายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปตัย และไม่มีใครมีอำนาจเหนือหัวหน้าพรรค ส่วนพรรคต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือของพรรคสหชีพนั้น มีหัวหน้าพรรคก็จริง พนักงานสอบสวนใคร่ทราบแน่ว่า พรรคสหชีพนี้มีใครที่มีอำนาจเหนือหัวหนาพรรคบ้างหรือหาไม่ ได้จับประเด็นเอาจากตอนที่แต่งตั้งนาย