หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/621

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๖๘

การณ์จะทำการปลงพระชนม์ล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่บ้านพลเรือตรี กระแส ปวาหะนาวิน ศรยุทธเสนี โดยมีนายตี๋ ศรีสุวรรณ เป็นพยานสำคัญ มาแล้วนั้น โจทก์ขอเรียนเพิ่มเติมว่า ตามข้อเท็จจริง เป็นที่แจ้งประจักษ์ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างล้นเกล้าล้นกระหม่อมกับนายปรีดี พนมยงค์ นั้น นับแต่พระองค์ท่านได้ทรงสนพระทัยในกิจราชการบริหารของประเทศชาติเป็นพิเศษ โดยรับสั่งให้ข้าราชการชั้นอธิบดีเข้าเฝ้าทูลถวายความรู้เกี่ยวกับราชการในหน้าที่เป็นประจำเสมอมา และทรงรับฟังเหตุการณ์บ้านเมืองทั่วไป แม้จากผู้ที่อยู่ในพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลในขณะนั้น แล้วเริ่มมีความเห็นขัดแย้งกัน อาทิ เรื่องตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ อันเป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง หลังจากที่นายปรีดี พนมยงค์ ได้พยายามที่จะให้ล้นเกล้าล้นกระหม่อมทรงเห็นพ้องด้วยความเห็นของตน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จแล้ว ในที่สุด นายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวกับนายวงษ์ เชาวนะกวี พยานโจทก์ ว่า ต่อไปจะไม่พิทักษ์ราชบัลลังก์ ดังนี้ โจทก์เห็นว่า นายปรีดี พนมยงค์ มีความแค้นเคืองล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างมากถึงขนาด ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ได้ระบุว่า องค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นหน้าที่โดยตรงที่จะต้องถวายความพิทักษ์แก่ราชบัลลังก์ของพระองค์ มิให้ผู้ใดทำการละเมิด เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ กล่าวดังนี้ ย่อมเป็นข้อแสดงเท่ากับว่า นายปรีดี พนมยงค์ ยอมให้มีการละเมิดองค์พระมหา-