หน้า:คำพิพากษาฯ รัชกาลที่ 8 - ๒๔๙๘.pdf/639

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๘๖

พนมยงค์ ในเรื่องนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ก็ไม่ขัดขวางพระราชประสงค์นั้น เมื่อพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว นายเฉลียว ปทุมรส จำเลยที่ ๑ ก็ได้เป็นสมาชิกพฤฒสภา

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการพ้นจากตำแหน่งของนายนเรศธิรักษ์ ซึ่งเดิมทีเดียว เป็นหัวหน้ากองมหาดเล็ก และตอนหลังเป็นเลขานุการสำนักพระราชวัง และในที่สุด พ้นจากตำแหน่งไปเป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรีในสมัยที่นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่

ปรากฏจากการนำสืบของโจทก์ต่อไปว่า ได้เคยรับสั่งให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งขณะนั้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เข้าเฝ้า และมีพระราชกระแสร์รับสั่งตักเตือนว่า รุนแรงนักหรือ เกรงว่าจะไปเที่ยวอภิปรายเสียดสีเขาในสภาแล้วเป็นภัยแก่ตัวเอง และก็ได้รับสั่งกำชับว่า ให้รักษาตัวไว้ให้ดี อย่าให้รุนแรงเกินไปนัก เพราะปรากฏว่า ได้ยกมือไม่ไว้วางใจรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายของนายปรีดี พนมยงค์

สาเหตุอีกประการหนึ่งซึ่งโจทก์ได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องทรงรับสั่งว่า จะสละราชสมบัตินั้น ในเรื่องนี้ ตามทางพิจารณา ปรากฏว่า ได้เคยรับสั่งกับ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล ซึ่งไปเฝ้า ว่า ท่านจะสละราชสมบัติ จะให้น้องครองราชสมบัติแทน ส่วนพระมหากษัตริย์เองจะไปสมัครเป็นผู้แทนราษฎร เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้ว จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี มาทำงานร่วมกันในระหว่างพี่ ๆ น้อง ๆ แต่เมื่อรับสั่งแล้ว ก็รับสั่งว่า "เบอร์นาร์ดชอว์นะ" ซึ่ง ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล