หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๓-๔.pdf/34

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
– ๖ –

หากยอมให้หญิงและแพทย์ยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยภายในระยะเวลาตั้งแต่ต้นแล้ว ชื่อเสียง เกียรติยศ และสภาพจิตใจของหญิงก็จะคงถูกรักษาเอาไว้ได้ ความเสียหายย่อมระงับหรือบรรเทาลงได้ตั้งแต่ต้น

นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ (๒) ก็มิใช่กฎหมายจะให้ยุติการตั้งครรภ์ เฉพาะกรณีหญิงถูกข่มขึ้นกระทำชำเราเท่านั้น แม้หญิงยินยอม (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๒) หรืออายุไม่เกิน ๑๕ ปี (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๗) แพทย์ย่อมทำแท้งให้ได้โดยไม่มี ข้อจำกัดใด ๆ แต่เมื่อยังมีความผิดฐานทำแท้งอยู่ แพทย์จึงไม่กล้าทำเพราะกลัวถูกจับดำเนินคดี ส่งผลให้ ผู้หญิงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมได้อย่างปลอดภัย

นอกจากนี้แล้ว เทคโนโลยีของแพทย์ที่เปลี่ยนไป ทำให้กฎหมายในเรื่องนี้ล้าหลัง เกิดช่องว่างทางกฎหมายขึ้น กล่าวคือ เทคโนโลยีการผสมเทียม ผู้หญิงอาจถูกทำให้ตั้งครรภ์ได้ โดยผู้กระทำไม่มีความผิดตามกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ (๒) เพราะการกระทำ ชำเราตามกฎหมายต้องใช้อวัยวะเพศ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑๘) แต่การผสมเทียมมิได้ใช้ อวัยวะเพศกระทำต่อหญิงอาจทำให้หญิงตั้งครรภ์ได้โตยไม่มีความผิดฐานกระทำชำเราเกิดขึ้น หญิงจึงไม่มี เงื่อนไขในการจะให้แพทย์ทำแท้งให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ (๒) นี้ได้ มาตรการดังกล่าว จึงเป็นกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตและไม่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

ยิ่งไปกว่านั้น การมีบทบัญญัติห้ามหญิงทำแท้งตนเองหรือห้ามแพทย์ทำแท้งให้หญิง ทำให้ วิธีการทำแท้งหรือยาที่ใช้ยุติการตั้งครรภ์ในระยะที่ปลอดภัยถูกห้ามนำมาใช้หรือไม่พัฒนาทำให้ล้าหลังไปด้วย โดยแทนที่จะใช้เครื่องดูดสุญญากาศ (vacuum aspiration) ที่ปลอดภัยกลับยังคงใช้วิธี "ขูดมดลูก" โดยใช้เหล็กแหลมอยู่ซึ่งอันตรายอย่างมาก หรือยารักษาโรคที่มีผลอาจทำให้แท้งลูกได้ ก็ถูกห้ามไปด้วย เช่น ยา RU-๔๘๖ ที่ใช้ยุติการตั้งครรภ์ในระยะแรกได้อย่างปลอดภัย ก็ถูกห้ามขาย จึงมีการลักลอบขายทำให้ยาดังกล่าวจากราคา ๒๐ บาท กลายเป็น ๕๐๐ บาท และมียาปลอมที่ไม่ได้ผล และไม่ปลอดภัยกลับแพร่ระบาดไปทั่ว รวมถึงยารักษาโรคแผลในกระเพาะ (cytotec) อาจมีผลต่อการแท้งลูก ก็ถูกห้ามไปด้วย ทำให้คนเป็นโรคกระเพาะเข้าถึงยาได้ยากขึ้น

ประเด็นที่สาม ไม่ว่ากรณีที่ขัดหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ก็ตาม สมควรมีมาตรการปรับปรุง กฎหมาย หรือไม่ อย่างไร

อาศัยความตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๗๗ จึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงบทบัญญัติให้เรื่องการ ทำแท้งตามประมวลกฎหมายอาญาปัจจุบัน ซึ่งใช้มากว่า 5๐ ปีแล้วไม่เหมาะสมกับแนวคิดและ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เปลี่ยนไป ทั้งนี้ มิใช่ประสงค์จะให้เกิดการทำแท้งได้โดยเสรีไม่มีเงื่อนไข จึงสมควรพิจารณากรอบแห่งการกระทำเพื่อให้เกิดความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเพศ ตลอดจนความปลอดภัยของมารดาและคุณภาพชีวิตที่ดีของทั้งมารดาและเด็กที่จะเกิดมาสามารถที่จะใช้สิทธิ (enjoy right) ของตนได้อย่างสมบูรณ์