ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง | ผู้ร้อง | |||
ระหว่าง | ||||
— | ผู้ถูกร้อง |
ประเด็นวินิจฉัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม หรือไม่
ความเห็น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัวมีพัฒนาการมาจากกฎหมายลักษณะผัวเมีย พุทธศักราช ๑๙๐๔ ในสมัยรัชกาลพระมหาธรรมราชา ที่ ๑ สมัยกรุงศรีอยุธยา กฎหมายลักษณะผัวเมียดังกล่าวมีสาระสำคัญประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการ คือ การแสดงออกโดยเปิดเผยว่าเป็นผัวเมียกัน หมายถึง การที่ชายหญิงอยู่กินกันและความสามารถที่จะเป็นผัวเมียกัน หมายถึง บุคคลที่จะเป็นผัวเมียกันย่อมเป็นบุคคลธรรมดาและมีความสามารถเพียงพอรวมถึงการมีวุฒิภาวะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พุทธศักราช ๒๔๗๗ บรรพ ๕ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๔, ๒๔๘๖, ๒๕๑๙ และ ๒๕๓๓ เมื่อวิเคราะห์เจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช ๒๔๗๗ บรรพ ๕ พบว่ากฎหมายยอมรับสิทธิการจัดตั้งครอบครัวเฉพาะชายและหญิงเท่านั้นเพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์และความสมบูรณ์ของสถาบันครอบครัวของ