ผู้ร้องทั้งสองจึงฟังไม่ขึ้น ให้ยกอุทธรณ์ ผู้ร้องทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นคําร้องขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคําสั่งรับจดทะเบียนสมรส ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. (ที่ถูก พุทธศักราช) ๒๔๗๘ มาตรา ๑๕ ได้ผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ ไม่สอดคล้องกับหลักการทั่วไปของการตรากฎหมายจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖ ขัดต่อหลักนิติธรรม ซึ่งการตรากฎหมายจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลได้จะต้องไม่สร้างภาระต่อสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควร แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ กลับให้อํานาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายในทางรูปแบบ (วิธีสบัญญัติ) ที่ส่งผลกระทบกับความชอบด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา (สารบัญญัติ) โดยส่งผลกระทบต่อสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ปวงชนชาวไทยควรจะได้รับซึ่งในกรณีของคู่ชีวิตเพศเดียวกันก็พึงจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับคู่สมรสโดยทั่วไป โดยเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมุ่งประสงค์ที่จะคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลของปวงชนชาวไทยเสมอกันโดยให้ถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้องคุ้มครองให้ประชาชนสามารถดํารงตนอยู่ในรัฐได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความภาคภูมิใจและมีคุณค่าทั้งต่อตนเองและในการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ กําหนดคําว่า “เพศสภาพ” ไว้ในบันทึกเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญว่า “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน” ห้ามการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง “เพศ” นอกจากหมายถึงความแตกต่างระหว่างชายและหญิงแล้ว ยังหมายรวมถึงความแตกต่างของบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ (Sexual Identity) หรือเพศสภาพ (Gender) หรือความหลากหลายทางเพศ (Sexual Diversity) แตกต่างจากเพศที่ผู้นั้นถือกําเนิดอยู่ด้วยจึงไม่ได้บัญญัติคําดังกล่าวข้างต้นไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๐ เนื่องจากคําว่า “เพศ” ได้หมายความรวมถึงคําดังกล่าวอยู่แล้ว และจําต้องไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ๆ ดังนั้น คําว่า “เพศ” ที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ มาตรา ๒๗ วรรคสาม จึงรวมถึงการห้ามเลือกปฏิบัติเพราะความแตกต่างของบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ หรือเพศสภาพ หรือความหลากหลายทางเพศ แตกต่างจากเพศที่ผู้นั้นถือกําเนิดด้วยนอกจากนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ บัญญัติว่า “การสมรสจะทําได้เมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว” นั้น เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ (ที่ถูก ปี ๒๔๗๗ แต่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี ๒๔๗๘) ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมระหว่างเพศ และคุ้มครองสิทธิบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยกําหนดนิยาม “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายถึง การเลือกปฏิบัติระหว่าง
หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๔-๒๐ (ส่วนตน).pdf/26
หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๒ –