หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๔-๒๐ (ส่วนตน).pdf/29

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๕ –

กลุ่มบุคคลเป้าหมายเป็นผู้รับบริการสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ไว้ตามที่ผู้ร้องทั้งสองอ้าง ก็เป็นเรื่องของคํานิยามของกฎหมายแต่ละฉบับที่มีวัตถุประสงค์ของกฎหมายแตกต่างกันไปเพื่อให้มีความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนได้ทุกเพศไม่ว่าจะมีการแสดงออกทางเพศอย่างไร หาใช่ว่าคํานิยามของกฎหมายฉบับใดจะนําไปใช้กับกฎหมายฉบับอื่นได้การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ มืบทบัญญัติใช้คําว่า “ชายและหญิง” ก็ย่อมเป็นไปตามกฎหมายของตนตามลักษณะกฎหมายครอบครัวตามเพศปกติตามที่กําเนิดแท้จริงตามธรรมชาติของโลก แต่รัฐสภาสามารถออกกฎหมายที่มีบทบัญญัติในทํานองเดียวกับกฎหมายลักษณะครอบครัว เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือในการที่บุคคลเพศเดียวกันจะมีความผูกพันกันในลักษณะครอบครัวเช่นเดียวกันได้ เหมือนกับที่มีการออกพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ หรือพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ดังที่ผู้ร้องทั้งสองอ้างมานั้น ดังนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ จึงเป็นไปตามหลักแห่งความเสมอภาคของบุคคล ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง

จึงมีความเห็นว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๔๔๘ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ และมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม

อุดม สิทธิวิรัชธรรม
(นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม)
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ