หน้า:คำวินิจฉัยศาล รธน ๒๕๖๔-๒๐ (ส่วนตน).pdf/32

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
– ๓ –

สังคมมาโดยตลอด ฉะนั้น การอนุญาตให้มีการจดทะเบียนสมรสโดยบุคคลที่มีเพศเดียวกันย่อมจะขัดต่อ ศีลธรรมอันดีหรือจารีตประเพณีของสังคมไทย เมื่อการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับผู้ที่จะจดทะเบียนสมรสกันได้ต้องเป็นเพศชายกับเพศหญิงเท่านั้น คำว่า "เพศ" หมายถึง ลักษณะทางชีวภาพที่ใช้ในการแบ่งแยกมนุษย์เป็นผู้หญิงและผู้ชาย เช่นนี้ เพศของบุคคลธรรมดาที่กฎหมายรับรองจึงถือเอาตามเพศที่ถือกำเนิดมา แต่การที่บุคคลในสังคมที่มีสถานะเพศมิใช่ทางชีวภาพเป็นชายเป็นหญิงอันมีความหลากหลายทางเพศอ้างว่า ตนมีเสรีภาพในการที่จะอยู่กินกับบุคคลใดที่มีเพศใดย่อมสามารถขอจดทะเบียนสมรสได้นั้น ก็เป็นเพียงความรู้สึกและความพึงพอใจทางเพศหรือรสนิยมทางเพศที่วัดจากการแสดงออกหรือบทบาททางเพศที่แสดงออกในลักษณะของความชอบ โดยอาจเรียกกลุ่มคนนี้ว่า บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือความเชื่อมโยงทางเพศ หรือบุคคลที่เกิดมามีภาวะทางร่างกาย หรือจิตใจไม่ตรงกับเพศที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลากหลาย อาทิ คนที่ชอบเพศตรงข้าม คนที่ชอบเพศเดียวกัน หรือคนที่ชอบทั้งสองเพศ เป็นต้น แม้ความรักจะเป็นเสริภาพในการแสดงออก แต่การแสดงออกซึ่งความรักก็จะต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมายในปัจจุบัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสมรส คือ การที่ชายและหญิงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาเพื่อสร้างสถาบันครอบครัว มีบุตร และดำรงเผ่าพันธุ์ตามธรรมชาติต่อไป กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ที่จะขอจดทะเบียนสมรสกันได้ต้องเป็นชายกับหญิงเท่านั้น บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจึงไม่อาจจดทะเบียนสมรสได้

ส่วนข้อโต้แย้งของผู้ร้องทั้งสองที่ว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ กำหนดให้การสมรสกระทำได้ระหว่างชายและหญิงเท่านั้นเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศนั้น เห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญจะได้บัญญัติรับรองคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล โดยกำหนดให้บุคคลย่อมเสมอกันตามกฎหมาย ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเหียมกัน ขายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน และต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศ มีเสรีภาพในการดำเนินชีวิตภายใต้หลักความเสมอภาคของรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่การใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวก็ต้องเคารพกฎหมายภายในประเทศ เคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น รวมทั้งจารีตประเพณี หลักศาสนา วัฒนธรรม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสังคมของรัฐหรือประเทศนั้น ๆ ซึ่งในเรื่องการสมรสตามจารีตประเพณี วิถีสังคมไทย ตลอดจนแนวทางปฏิบัติและการตีความกฎหมายของประเทศไทย มีความเชื่อถือสืบต่อกันมาตั้งแตโบราณกาลว่า การสมรสสามารถกระทำได้เฉพาะชายและหญิง จึงให้รัฐสามารถตรากฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘ ไม่ได้จำกัดเสรีภาพของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในการอยู่ร่วมกัน ทั้งหากจะฟังว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔๘