หน้า:ตำนานกฎหมายเมืองไทย - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๗๓.pdf/5

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

พามาแต่อินเดีย หนังสือคฤนถ์นั้น ตามที่เคยเห็นศิลาจารึก เห็นใช้เขียนแต่ภาษามคธ ภาษาสังสกฤต และภาษาขอม ไม่เคยพบจารึกอักษรคฤนถ์เป็นภาษาไทยเลย แต่บางทีจะเขียนภาษาไทยอย่างหนังสือขอมเขียนแปลร้อยได้ในครั้งนั้นแล้ว เข้าใจว่า กฎหมายไทยที่ตั้งขึ้นเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีตอนก่อน พ.ศ. ๑๘๒๖ เห็นจะต้องให้แปลกลับเป็นภาษาขอมหรือภาษาสังสกฤต หรือบางทีจะมีวิธีเขียนภาษาไทยด้วยตัวหนังสือคฤนถ์แปลร้อยได้ แต่การจดลงเป็นหนังสือ[1] ไม่ว่าภาษาใด คงเป็น


  1. เมื่อไม่ช้ามานัก ในปีนี้ พนักงานกรมทางพบศิลาจารึกอักษรไทยที่เมืองสุโขทัยแผ่น ๑ นำมาส่งราชบัณฑิตยสภา ตรวจได้ความว่า เป็นกฎหมายลักษณโจร พระเจ้าเลอไทย ราชโอรสซึ่งรับรัชชทายาทพระเจ้ารามคำแหงมหาราช ให้จารึกไว้เมื่อราว พ.ศ. ๑๘๘๗ ราชบัณฑิตยสภากำลังตรวจพิเคราะห์ว่า การตั้งกฎหมายในสมัยนั้นจะใช้จารึกศิลาปักโฆษณาหรืออย่างไร ยังไม่ยุตติความเห็นลงเป็นแน่