หน้า:ตำนานฯ สามก๊ก - ดำรง - ๒๔๗๑ b.pdf/37

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๓๕

เช่น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เปนต้น เอาเปนธุระสร้างหนังสือสำหรับให้พิมพ์มากขึ้น ที่ชอบแปลแต่เรื่องจีนเปนพื้นนั้นก็ไม่ประหลาดอันใด ด้วยในสมัยนั้นผู้รู้ภาษาฝรั่งยังมีน้อยนัก ถึงเรื่องจีนก็ทำให้เกิดปัญญาความรู้เจริญแพร่หลายยิ่งกว่าแต่ก่อน จึงควรยกย่องหนังสือสามก๊กว่าได้ทำให้เกิดประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาในประเทศนี้ด้วยอีกสถานหนึ่ง

หนังสือไทยที่ตีพิมพ์จับแพร่หลายเมื่อตอนปลายรัชกาลที่ ๔ พอถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดบำรุงการศึกษา ทรงอุดหนุนซ้ำ การพิมพ์หนังสือไทยก็ยิ่งเจริญขึ้นโดยรวดเร็ว ก็ในสมัยเมื่อแรกขึ้นรัชกาลที่ ๕ นั้นมีโรงพิมพ์นับว่าเปนโรงใหญ่อยู่สามโรง คือ โรงพิมพ์หลวง ตั้งอยู่ที่ในพระบรมมหาราชวัง (ตรงบริเวณสวนศิวาลัยบัดนี้) กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ เมื่อยังดำรงพระยศเปนกรมหมื่นอักษรศาสนโสภณ ได้ทรงบัญชาการ โรงหนึ่ง โรงพิมพ์ของหมอบรัดเล มิชชันนารีอเมริกา ตั้งอยู่ที่ริมปากคลองบางกอกใหญ่ โรงหนึ่ง โรงพิมพ์ของหมอสมิธ มิชชันนารีชาติอังกฤษ ตั้งขึ้นที่บางคอแหลม โรงหนึ่ง โรงพิมพ์หลวงนั้นเมื่อชั้นแรกในรัชกาลที่ ๕ ก็พิมพ์หนังสือเรื่องพงศาวดารจีนจำหน่ายหลายเรื่องดังปรากฏอยู่ในบัญชีหนังสือเรื่องจีนซึ่งได้แสดงมาแล้ว แต่ต่อมา เมื่อต้องพิมพ์หนังสือแบบเรียนสำหรับโรงเรียนหลวงแล้วต้องพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา ก็ต้องงดพิมพ์หนังสืออื่น คงพิมพ์หนังสือเรื่องต่าง ๆ ขายแต่โรงพิมพ์หมอบรัดเลกับโรงพิมพ์หมอสมิธ ต่างไปขอต้นฉะบับที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ