หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/126

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
111

บางแห่งก็ซงเขียนเปนคำล้อเลียนหรือคำบริพาสแซกลงบ้าง แล้วพระราชทานคืนออกมายังกรมพระสมมตฯ ๆ ต้องไห้อาลักสน์เขียนตามฉบับของนายกุหลาบขึ้นไหม่ส่งคืนไปไห้เจ้าของ เอาหนังสือของนายกุหลาบที่มีลายพระราชหัถเลขารักสาไว้ไนหอพระสมุดวชิรญานจนบัดนี้

(5)

ต่อมา นายกุหลาบต้องออกจากตำแหน่ง (แอดชุแตนต์) โปลิสท้องน้ำ ก็เลยออกจากสมาชิกหอพระสมุดวชิรญานไปด้วย นายกุหลาบจึงไปคิดออกหนังสือพิมพ์วารสารเรียกชื่อว่า "สยามประเภท" เหมือนหย่างหอพระสมุดฯ ออกหนังสือ "วชิรญาน" ทำเปนเล่มสมุดออกขายเปนรายเดือน เอาเรื่องต่าง ๆ ที่คัดไปจากหอหลวงและไปดัดแปลงดังว่านั้นพิมพ์ไนหนังสือสยามประเพท และเขียนคำอธิบายปดว่า ได้ฉบับมาจากไหน ๆ ไปต่าง ๆ เว้นแต่ที่กรมหลวงบดินทฯ นั้นมิได้ออกพระนามไห้แพร่งพรายเลย คนทั้งหลายพากันหลงเชื่อ ก็นับถือนายกุหลาบถึงเรียกกันว่า "อาจารย์กุหลาบ" ก็มี ครั้นจำเนียรกาลนานมา เมื่อนายกุหลาบหมดเรื่องที่ได้ไปจากหอหลวง ก็ต้องแต่งเรื่องต่าง ๆ แต่โดยเดาขึ้นไนหนังสือสยามประเภท แต่อ้างว่า เปนเรื่องพงสาวดารแท้จิง แต่ก็ยังไม่มีไครทักท้วงประการได ๆ จนนายกุหลาบเล่าเรื่องพงสาวดารกรุงสุโขทัยตอนเมื่อจะเสียแก่กรุงสรีอยุธยาพิมพ์ลงไนหนังสือสยามประเภทว่า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินซงพระนามว่า "พระ