หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/134

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
119

ว่าด้วยเมืองไทยตั้งแต่โบรานมารวบรวมก่อน หนังสือพวกนี้จะสั่งไปไห้หาซื้อไนยุโรปและอเมริกา ส่วนหนังสือภาสาไทยจะรวบรวมหนังสือซึ่งยังเปนฉบับเขียนอันมีกะจัดกะจายหยู่ไนพื้นเมืองเอามารวบรวมไว้ไนหอสมุดก่อนหนังสือพวกอื่น เพราะหนังสือไทยที่เปนจดหมายเหตุและตำหรับตำราวิชาการกับทั้งวรรนคดียังมีแต่เปนฉบับเขียนหยู่โดยมาก ถ้าทิ้งไว้ไม่รีบรวบรวมเอามารักสาไนหอพระสมุดฯ วิชาความรู้อันเปนสมบัติของชาติก็จะเสื่อมสูญไปเสีย วิธีที่จะหาหนังสือฉบับเขียนไนเมืองไทยนั้น ตกลงกันไห้กรมพระสมมตฯ ซงตรวดดูหนังสือไนหอหลวงซึ่งมิได้โปรดไห้โอนเอามารวมไว้ไนหอพระสมุดสำหรับพระนคร แต่กรมพระสมมตฯ ซงรักสาหยู่เอง ถ้าเรื่องไดควนจะมีไนหอพระสมุดสำหรับพระนคร ก็ไห้ซงคัดสำเนาส่งมา กรมพระสมมตฯ ซงหาได้หนังสือดี ๆ และเรียบเรียงประทานไห้หอพระสมุดฯ พิมพ์ปรากตหยู่เปนหลายเรื่อง ส่วนหนังสือฉบับเขียนซึ่งมีหยู่ที่อื่นนอกจากหอหลวงนั้นไห้ตัวฉันเปนผู้หา ข้อนี้เปนมูลเหตุที่เกิดวิธีฉันหาหนังสือด้วยวิธีต่าง ๆ จึงรู้เรื่องประวัติหนังสือหอหลวงสิ้นกะแสความ ดังจะเห็นต่อไปข้างหน้า

หนังสือไทยฉบับเขียนของเก่านั้นลักสนะต่างกันเปน 3 ประเพท ถ้าเปนหนังสือสำหรับอ่านกันเปนสามัน เขียนไนสมุดไทยสีขาวด้วยเส้นหมึกบ้าง เขียนไนสมุดไทยสีดำด้วยเส้นดินสอขาวบ้าง หรือเส้นฝุ่น และเส้นหรดาน หรือวิเสสถึงเขียนด้วยเส้นทองก็มี เขียนตัวอักสรบันจงทั้งนั้น ต่อเปนร่างหรือสำเนาจึงเขียนอักสรหวัดด้วยเส้นดินสอ แต่