หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/217

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
202

หัวเมือง จึงต้องคิดอุบายแก้ไขความรังเกียจด้วยไห้เรียกชื่อยาที่ทำขึ้นไหม่ว่า "ยาโอสถสาลา" แต่ละขนานไส่กลักเล็ก ๆ กลักละ (ดูเหมือน) 20 เม็ด พิมพ์หนังสือปิดข้างนอกกลักเอาแต่ชื่อโรคเรียก เช่นว่า "ยาแก้ไข้จับ, ยาแก้ลงท้อง, ยาแก้บิด" เปนต้น ข้างไนกลักมีกะดาดไบปลิวบอกวิธีที่จะไช้ยานั้น แล้วรวมกลักยาห่อเปนชุด ๆ มีไบปลิวโคสนาคุนของยาโอสถสาลาสอดไปด้วย ส่งไปไห้หมอตำบนเปนผู้จำหน่าย (ดูเหมือน) ราคากลักละ 10 สตางค์ จำหน่ายได้เงินเท่าได ไห้ค่าขายแก่หมอตำบนเปนส่วนลดร้อยละ 10 แม้ไช้อุบายกันคนรังเกียจหย่างนั้นแล้ว กว่าจะได้ผลดังประสงค์ก็ยังนาน เพราะเปนของแปลก แม้หมอตำบนเองก็รับไว้จำหน่ายด้วยเกรงไจโดยมาก ตัวเองยังชอบไช้ยาสมุนไพรหยู่ตามเคย ต่อบางคนจึงทดลองไช้ยาโอสถสาลา แต่ต่อมาก็ปรากตคุนขึ้นโดยลำดับ เมื่อยาโอสถสาลาจำหน่ายได้แพร่หลายจนเห็นว่าจะทำจำหน่ายได้ยั่งยืนต่อไป กะทรวงมหาดไทยจึงได้ตั้งสถานโอสถสาลาที่โรงพยาบาลเทพสิรินทร์ แล้วรัถบาลทำยาโอสถสาลาจำหน่ายเองสืบมา

แพทย์ประจำเมือง

แต่ก่อนมา เจ้าเมืองกรมการมักเปนชาวเมืองนั้นเอง เจ็บไข้ก็ไช้หมอไนพื้นเมืองที่เคยรักสากันมาเปนปรกติ ครั้นเมื่อจัดหัวเมืองเปนมนทลเทสาภิบาล ส่งข้าราชการไนกรุงเทพฯ ออกไปรับราชการประจำ