หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/352

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
337

อู่ทองหรือไม่ จึงวานพระยานครพระราม (ม.ร.ว.เจ๊ก) เมื่อยังเปนนายอำเพอพระปถมเจดีย์ ไห้ตรวดแนวลำน้ำนั้นว่า จะขึ้นไปถึงไหน ด้วยแกเคยหยู่ไนกรมแผนที่ ทำแผนที่เปน พระยานครพระรามตรวดได้ความว่า แนวลำน้ำนั้นขึ้นไปผ่านหน้าเมืองกำแพงแสนซึ่งเปนเมืองโบรานเมืองหนึ่ง แล้วมีร่องรอยต่อขึ้นไปข้างเหนือ จนไปต่อกับลำน้ำจรเข้สามพันที่ตั้งเมืองท้าวอู่ทอง ไช่แต่เท่านั้น สืบถามที่เมืองสุพรรนบุรียังได้ความต่อไปว่า ลำน้ำจรเข้สามพันนั้นยืดยาวต่อขนไปทางเหนืออีกไกลมาก และมีของโบราน เช่น สะน้ำ 4 สะสำหรับราชาภิเสก เปนต้น หยู่ริมลำน้ำนั้นหลายแห่ง แต่ลำน้ำเดิมตื้นเขิน ยังมีน้ำแต่เปนตอน ๆ คนจึงเอาชื่อตำบนที่ยังมีน้ำเรียกเปนชื่อลำน้ำนั้น กลายเปนหลายชื่อ

ส่วนลำน้ำที่พระปถมเจดีย์อีกสายหนึ่งซึ่งไปทางตะวันตกนั้น ตรวดเมื่อพายหลังก็ได้ความรู้หย่างแปลกประหลาดว่า ไปต่อกับแม่น้ำราชบุรีที่ตำบนท่าผา และมีวัดพุทธาวาส พวกชาวอินเดียที่มาตั้งเมืองนะพระปถมเจดีย์ก่อส้างด้วยสิลา ปรากตหยู่ที่พงตึกทางฟากตะวันตกเหนือปากน้ำนั้น เปนอันพบหลักถานแน่นอนว่า เมืองโบรานที่พระปถมเจดีย์นั้น ตั้งหยู่ที่แม่น้ำสองสายประสบกัน และหยู่ไกล้ปากน้ำที่ออกทเลด้วย เพราะเคยขุดพบสายโซ่และสมอเรือทเลที่ตำบนธัมสาลา หยู่ห่างพระปถมเจดีย์มาทางทิสตะวันออกไม่ไกลนัก เพราะเปนเมืองมีทางคมนาคมค้าขาย ทั้งทางบก ทางทเล และทางแม่น้ำบริบูรน์ เมืองเดิมที่พระปถมเจดีย์จึงได้เปนราชธานีของประเทสทวาราวดี

43