หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/363

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
348

ตามนามเดิมของพระสงค์คนะนั้น พระเจดีย์ชัยมงคลก็ยังปรากตหยู่ทางข้างตะวันออกของทางรถไฟ เห็นได้แต่ไกลจนบัดนี้ เหตุที่ส้างพระเจดีย์รู้มาแล้วแต่ไนรัชกาลที่ 5 ว่า เปนดังเล่ามา เปนแต่ยังไม่รู้ว่า พระเจดีย์ยุธหัตถีหยู่ที่ไหนเท่านั้น

เหตุที่จะพบพระเจดีย์ยุธหัตถีนั้นก็หยู่ข้างแปลกประหลาด ดูเหมือนจะเปนไนปีแรกรัชกาลที่ 6 พระยาปริยัติธัมธาดา (แพ ตาละลักสน์) เมื่อยังเปนที่หลวงประเสิดอักสรนิติ ช่วยเที่ยวหาหนังสือไทยฉบับเขียนของเก่าอันกะจัดกะจายหยู่ไนพื้นเมืองไห้หอพระสมุดสำหรับพระนคร วันหนึ่ง ไปเห็นยายแก่ที่บ้านแห่งหนึ่งกำลังรวบรวมเอาสมุดไทยลงไส่กะชุ ถามว่า จะเอาไปไหน แกบอกว่า จะเอาไปเผาไฟทำสมุกสำหรับลงรัก พระยาปริยัติฯ ขออ่านดูหนังสือไนสมุดเหล่านั้น เห็นเปนหนังสือเรื่องพงสาวดารหยู่เล่มหนึ่ง จึงขอยายแก่เอามาส่งไห้ฉันที่หอพระสมุดฯ ฉันเห็นเปนสมุดของเก่า เขียนตัวบันจงด้วยเส้นรง (มิไช่หรดาลที่ชอบไช้กันไนชั้นหลัง) พอเปิดออกอ่านก็ประหลาดไจ ด้วยขึ้นต้นมีบานแผนกว่า สมเด็ดพระนารายน์มหาราชตรัดสั่งไห้รวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ แต่งหนังสือพระราชพงสาวดารฉบับนั้น เมื่อนะวันพุทธ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลสักราช 1042 (พ.ส. 2223) แปลกกับหนังสือพระราชพงสาวดารฉบับอื่น ๆ ที่มีไนหอพระสมุดฯ ฉันจึงไห้เรียกว่า "พระราชพงสาวดาร ฉบับหลวงประเสิด" เพื่อเปนเกียรติยสแก่ผู้ได้มา

ต่อมา ฉันอ่านหนังสือพระราชพงสาวดาร ฉบับหลวงประเสิด เทียบ