หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/70

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
55

กับข้าวฮินดูไห้รู้รสว่า ผิดกับของไทยหย่างไร แต่เมื่อหยิบขึ้นถึงปาก ได้กลิ่นเนย "ฆี" หรือที่เรียกไนบาลีว่า "สปฺปิ นวนีตํ" ซึ่งพวกฮินดูชอบปรุงกับอาหารแทบทุกหย่าง ฉุนทนไม่ไหว ก็ได้แต่ชิมเล็กน้อยพอเปนกิริยาบุญ ไม่พอที่จะพรรนนาได้ว่า รสอาหารผิดกับของไทยหย่างไร

รุ่งขึ้นถึงวันที่สองซึ่งฉันหยู่ไนเมืองพารานสี มหาราชาเชินไปที่วังรามนคร จัดรับเต็มยสตามแบบโบราน อังกริดเรียกว่า Official Durbar เวลาเช้าสัก 9 นาลิกา ออกจากวังนันเทสวรไปลงเรือที่ท่าแม่นํ้าคงคา มหาราชาไห้เรือที่นั่งลำหนึ่งมาคอยรับ เรือนั้นเปนเรือพายยาวสัก 7 วา แต่ต่อรูปร่างแปลกตาไม่เคยเห็น ข้างหัวเรือเรียว ท้ายเรือกว้าง ยกพื้นเปนบัลลังก์ข้างท้ายเรือ มีมนดปเสาหุ้มเงินหลังคาขึงผ้ากำมะหยี่ปักทอง ปูพรมตั้งเก้าอี้ไห้พวกเรานั่งไนมนดป ต่อยกพื้นลงไปข้างหน้า พวกฝีพายแต่งเครื่องแบบนั่งบนกะทงสองแคมตลอดไปจนหัวเรือ พอเรือออกจากท่า ผู้เปนบ่อโทนนายฝีพายก็ขานมนต์ภาสาสันสกริต ได้ยินขึ้นต้นว่า "โอมรามะลักสมัน" ต่อไปว่ากะไรฉันไม่เข้าไจ แต่ว่ายาววรรคหนึ่งพวกฝีพายก็ขานรับพร้อมกันคำหนึ่ง ว่ากะไรก็ไม่เข้าไจเหมือนกัน กะบวนคูคล้ายกับขานยาวเรือพระที่นั่งไนเมืองไทย และขานเปนระยะไปเสมอเช่นเดียวกัน ฉันถามผู้กำกับ เขาบอกอธิบายว่า ไนสาสนาฮินดูเชื่อว่า เมื่อพระรามจะไปจากมนุสโลก สเด็ดลงแม่น้ำคงคาหายไป เพราะฉะนั้น เวลาข้ามแม่น้ำคงคา จึงสวดบูชาพระรามไห้เกิดสวัสดิมงคล ฉันก็ตีความว่า คำที่บ่อโทนว่าคงเปนคำบูชา คำฝีพายว่า