หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/75

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
60

เมื่อวันแรกไปถึงเมืองพารานสี เวลาค่ำฉันนั่งกินอาหารกับพวกที่ไปด้วยกันและพวกข้าราชการอังกริดยังไม่ทันแล้วเส็ด พอเวลายามหนึ่ง (21 นาลิกา) ได้ยินเสียงตีค้องโหม่งทางประตูวังย่ำลา 1 เช่นเดียวกันกับตีค้องระคังย่ำยามไนเมืองไทย ฉันนึกประหลาดไจ จึงถามข้าราชการอังกริดที่หยู่ไนเมืองนั้นว่า ตีค้องย่ำเช่นนั้นหมายความว่าหย่างไร เขาตอบว่า "เปนสัญญาเรียกคนมาเปลี่ยนพวกที่หยู่ยาม" พอฉันได้ยินอธิบายก็จับไจแทบจะร้องออกมาว่า "อ้อ" เพราะวิธีตีค้องระคังยามไนเมืองไทย เมื่อถึงเวลาเช้า 6 นาลิกา เวลาเที่ยงวัน เวลาค่ำ (18 นาลิกา) และเวลากลางคืนยาม 1 (21 นาลิกา) เวลาเที่ยงคืน เวลา 3 ยาม (3 นาลิกา) ก็ตีย่ำ ทำนองเดียวกับได้ยินที่เมืองพารานสี แม้คำที่ไทยเราพูดก็เรียกเวลา 6 นาลิกาเช้าว่า "ย่ำรุ่ง" เรียกเวลาเที่ยงวันว่า "ย่ำเที่ยง" และเรียกเวลา 18 นาลิกาว่า "ย่ำค่ำ" คำที่พูดว่า "ย่ำ" คงมาจากย่ำค้องระคังนั่นเอง แต่ฉันยังไม่เคยคิดมาแต่ก่อนว่า เพราะเหตุไดจึงตีย่ำ เมื่อได้ฟังอธิบายที่เมืองพารานสีก็เข้าไจซึมซาบไนทันทีว่า ย่ำเปนสัญญาเรียกคนเปลี่ยนยาม เห็นได้ว่า ประเพนีไทยแต่โบราน เวลากลางวันไห้คนหยู่ยามผลัดละ 6 ชั่วนาลิกา แต่กลางคืนผลัดระยะ 3 ชั่วนาลิกา และยังแลเห็นสว่างต่อไปอีก ด้วยประเพนีตีระคังยามที่ไนพระบรมมหาราชวังกรุงเทพฯ เมื่อตีย่ำระคังแล้ว มีคนเป่าแตรงอนและเป่าปี่ตีมโหระทึกประโคมต่อไปอีกพักหนึ่ง และเวลามีพระ