หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/76

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
61

บรมสพหรือพระสพเจ้านายตลอดจนสพขุนนางผู้ไหย่บันดาที่มีกลองชนะประโคม ย่อมประโคมกลองชนะตรงกับย่ำค้องระคังยามทั้งกลางวันกลางคืน อาการประกอบกันไห้เห็นว่า การย่ำค้องระคังเปนสัญญาเรียกคนไห้มาเปลี่ยนยาม การประโคมเปนสัญญาบอกว่า พวกหยู่ยามไหม่ได้เข้าประจำหน้าที่พร้อมกันแล้ว มูลของประเพนีย่ำค้องระคังยามและประโคมพระสพไนเมืองไทย เห็นว่า เปนดังกล่าวมา และอาดจะได้มาจากอินเดียแต่ดึกดำบรรพ

จะเลยเล่าแถมถึงประเพนีตีบอกเวลาไนเมืองพม่าซึ่งฉันได้ไปรู้เมื่อ พ.ส. 2478 ต่อไป เพราะได้เค้าที่เหมือนกับไทยอีกหย่างหนึ่ง ที่ไนพระราชวังเมืองมันดะเลมีหอนาลิกาหลังหนึ่งเปนหอสูง ข้างล่างมีห้องสำหรับไว้นาลิกา ข้างบนเปนหอโถงสำหรับแขวนกลองกับค้องที่ตีบอกเวลา เขาว่า เคยมีหอเช่นนั้นทุกราชธานีไนเมืองพม่าแต่ก่อนมา ฉันถามเขาว่า ค้องกับกลองที่แขวนไว้บนหอนั้นตีต่างกันหย่างไร ไม่มีไครบอกอธิบายได้ เพราะเลิกราชประเพนีพม่ามาเสียหลายสิบปีแล้ว ฉันนึกจับหลักได้ว่า ค้องสำหรับตีกลางวัน กลองสำหรับตีกลางคืน หลักนั้นหยู่ไนคำพูดของไทยเราเอง ที่เรียกเวลาตอนกลางวันว่า "โมง" เช่นว่า 4 โมง 5 โมง แต่ตอนเวลากลางคืนเรียกว่า "ทุ่ม" เช่นว่า 4 ทุ่ม 5 ทุ่ม คำโมงกับทุ่มมาแต่เสียงค้องและกลองนั่นเอง ไนเมืองไทยแต่โบราน