หน้า:นิทานโบราณคดี - ดำรงราชานุภาพ - ๒๔๘๗.pdf/95

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
80

ราชาธิราชองค์ที่ 9 ไห้ไปถ่ายแบบพระปรางค์พุทธคยาไปส้างไว้ที่เมืองพุกามเมื่อราว พ.ส. 1753 องค์หนึ่ง เลยมีเรื่องต่อมาถึงเมืองไทย ด้วยมีพระเจดีย์โบรานก่อด้วยสิลาแลงหยู่ที่เมืองเชียงไหม่องค์หนึ่ง ชาวเมืองเรียกว่า "พระเจดีย์เจ็ดยอด" รูปสันถานทำหย่างพระปรางค์พุทธคยา ฉันได้เคยเห็นทั้งองค์ที่พุทธคยาและองค์ที่เมืองพุกาม จึงอ้างได้แน่ว่า องค์ที่เมืองเชียงไหม่คงถ่ายแบบมาจากองค์ที่เมืองพุกาม เปนแต่ย่อขนาดไห้ย่อมลงสักหน่อย และน่าจะส้างเมื่อก่อน พ.ส. 1800 ไนสมัยเมื่อเมืองเชียงไหม่ยังเปนเมืองขึ้นพระเจ้าราชาธิราชเมืองพุกาม อาดจะมีเจ้านายราชวงส์พุกามมาครอบครอง (บางทีจะเปนองค์ที่อภิเสกกับนางจามเทวี) เอาหย่างพระปรางค์มาจากเมืองพุกามและส้างหย่างประนีตถึงเพียงนั้น ความส่อต่อไปว่า ที่ไนหนังสือพงสาวดารเชียงไหม่ว่า พระยามังรายส้างเมืองเชียงไหม่เมื่อ พ.ส. 1839 นั้น ที่จริงส้างไนท้องที่เมืองเก่าอันร้างหยู่ มิได้ส้างไนที่ป่าเถื่อน เรื่องตำนานพระปรางค์ที่พุทธคยายังมีต่อมาว่า เมื่อ พ.ส. 2420 พายหลังสมเด็ดพระพุทธเจ้าหลวงสเด็ดไปอินเดีย 5 ปี พระเจ้ามินดงประเทสพม่าไคร่จะบำเพ็นพระราชกุสลตามเยี่ยงหย่างพระเจ้าราชาธิราชพม่าแต่ปางก่อน ไห้ไปขออนุญาตต่อรัถบาลอังกริดปติสังขรน์พระปรางค์พุทธคยาอีกครั้งหนึ่ง แต่พม่าไปปติสังขรน์ครั้งนี้ นักโบรานคดีอังกริดยังติเตียนกันหยู่จนทุกวันนี้ว่า เหมือนไปทำลายยิ่งกว่าไปทำไห้กลับคืนดี เพราะข้าหลวงพม่ามีความคิดเพิ่มจะก่อกำแพงล้อมรอบ กับจะปราบที่ไน