หน้า:ปก ให้ใช้วันอย่างใหม่ (๑๒๕๐).pdf/2

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม ๕
๔๕๒
ราชกิจจานุเบกษา

หลักอย่างสามัญสงกรานต์ซึ่งอาทิตยตรงสูญกลางโลกย์เพราะเหตุว่า สุริยโคจรโดยดาวฤกษรอบหนึ่งตามตำรานี้เปนปีหนึ่งได้ ๓๖๕ วัน ๖ โมง ๑๒ นาที ๓๖ วินาที แต่สุริยโคจรโอนเหนือใต้รอบโลกย์แลตรงสูญกลางโลกย์นี้ที่นับว่า เปนสามัญสงกรานต์ขาเข้านั้น มีมัธยมประมาณเปนปีหนึ่ง ๓๖๕ วัน ๕ โมง ๔๘ นาที ๔๙ วินาที เหตุฉนี้ ประมาณ ๖๐ ปี คติทั้งสองนี้จะผิดกันถึงวันหนึ่ง สามัญสงกรานต์จึ่งได้เลื่อนไปวันหนึ่งฤๅองศาหนึ่งทุก ๖๐ ปี ฤดูกาลก็เลื่อนไปตากมัน เมื่อคำนวนดูก็เห็นว่า แรกตั้งจุลศักราชนั้นเปนวันสามัญสงกรานต์ขาเข้า แลมีสุริยุปราคาเวลาบ่าย ๓ โมง ครั้นกาลล่วงมาถึงเวลานี้ จุลศักราช ๑๒๕๐ ปี คิดเปนวันสงกรานต์ เคลื่อนช้ามาภายหลังสามัญสงกรานต์ขาเข้าถึง ๒๑ วัน ฤดูกาลก็เคลื่อนมาตามกัน ด้วยเหตุว่า ฤดูนี้ย่อมเปนตามอาทิตยกับโลกย์นี้ตั้งอยู่อย่างใดก็เปนอย่างนั้น ไม่อาไศรยแก่ดาวฤกษ เพราะฉนั้น สุริยคติกาลตามสุริยาตรนี้ก็ไม่สมกับเหตุอันควรประการที่ ๑ ซึ่งกล่าวมาแล้ว

อนึ่ง วิธีนับปีที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ย่อมมีประมาณเปนสามอย่างไม่เสมอกัน คือ ปีปรกติ ๑๒ เดือน เปน ๓๕๔ วัน ปีมีอธิกวาร ๓๕๕ วัน กับปีอธิกมาศ ๑๓ เดือน เปน ๓๘๔ วัน ถ้าจะแปลกกันแต่อย่างเช่นนี้ปรกติกับปีอธิกวารเท่านั้น ก็จะไม่ผิดประหลาดมากนัก แต่วิธีอย่างนี้มีอธิกมาศยาวกว่าปีปรกติแลปีอธิกวารถึงเดือนหนึ่ง เพราะฉนั้น วิธีนับปีอย่างนี้ไม่สมเหตุอันควรโดยประการที่ ๒ ดังกล่าวมาแล้วนั้น

อีกประการหนึ่ง วิธีนับเดือนที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ถ้าพ้นจากกาลประจุบันไปแล้ว จะเปนกาลอดีตก็ดี อนาคตก็ดี เปนการยากที่คนสามัญจะรู้ได้ว่า ปีใดเปนอธิกมาศ อธิกวาร ฤๅปรกติ ถึงแม้ว่าผู้ที่รู้วิชาเลขดีแล้วก็ยังต้องคิดคำนวนค้นหาตำราสอบสวนอยู่ช้านานจึงจะได้รู้ ด้วยต้องทำพิสุทธิมาศ คือ ทำสัมมุขอาทิตย์แลจันทรในวันเข้าพรรษาแลวันปวารณาให้เข้าตัวอย่างฤกษ โดยผ่อนวันในปีจะให้เปนอธิกมาศ อธิกวาร แลปรกตินั้นเข้าหาให้ต้อง อย่างฤกษเข้าพรรษาอยู่ในฤกษ ๒๐ ฤกษ ๒๑ ฤกษ ๒๒ คือ บุรพาสาธ อุตราสาธ สาวะนะ ๓ ฤกษ กับฤกษปวารณาอยู่ในฤกษ ๒๖ ฤกษ ๒๗ ฤกษ ๑ คือ อุตรภัทร เรวดี อัศนี ๓ ฤกษ แล้วอย่าให้สงกรานต์ก่อนขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๕ ด้วยทางคำนวนอย่างนี้เปนของคิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เปนตำราตั้งมาแต่เดิมแรกตั้งจุลศักราชเหมือนตำราสุริยาตร เพราะฉนั้น ดิถีกับวารใน(ต้นฉบับตรงนี้อ่านไม่ออก)เถลิงศก บางปีก็ตรงกัน บางปีก็ไม่ตรงกัน แลทางคำนวนอย่างนี้จะกำหนดลงว่า ปรกติกี่ปี มีอธิกมาศ อธิกวาร ปีหนึ่ง ก็ไม่ได้ คนมีความรู้เสมอกันก็อาจจะทำให้ต่างกันได้ มีตัวอย่างเหมือนเช่น ปีรกา เอกศก จุลศักราช ๑๒๗๑ ต่อไปข้างน่าอีกปีนี้ โหรกพวกหนึ่ง มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงษเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ ที่สิ้นพระชนม์ แลพระโหราธิบดี เปนประธาน ก็คำนวนออกว่า เปนปีอธิกมาศ โหรอีกพวหนึ่ง มีพระเจ้าบรมวงษเธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ แลขุนโชติพรหมา (เสิม) ที่ถึงแก่กรรมนั้น เปนต้น