หน้า:ประกันภัย - ประวัติ ปัตตพงศ์ - ๒๔๘๐.pdf/5

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
กฎหมายลักษณะประกันภัย

ชีวิตด้วย เพราะฉะนั้น เพื่อให้เห็นความแตกต่างในลักษณะแห่งสัญญาประกันภัยทั้ง ๒ ชะนิดนี้ ข้อความในมาตรา ๘๖๑ จึงควรอ่านทำความเข้าใจในทำนองนี้ คือ "อันสัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น (คือ ในเรื่องประกันวินาศภัย) หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดั่งระบุไว้ในสัญญา (คือ ในเรื่องประกันชีวิต) และในการนี้ บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย" ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สัญญาประกันวินาศภัยเป็นสัญญาทดแทนความเสียหาย ผู้รับประกันภัยจึงตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น ส่วนสัญญาประกันชีวิตมิใช่สัญญาทดแทนความเสียหาย การใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตจึงมิได้เรียกว่า ค่าสินไหมดแทน แต่หากเป็นเงินจำนวนหนึ่งอันพึงใช้ให้ในเหตุอย่างอื่นในอนาคต เช่น เมื่อผู้เอาประกันชีวิตตายลง หรือเมื่อผู้เอาประกันชีวิตมีอายุครบ ๖๐ ปี หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องประสพอุบัติเหตุ เป็นต้น

มาตรา ๘๖๒ ซึ่งเป็นบทวิเคราะห์ศัพท์ของบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัย บัญญัติว่า "ตามข้อความในลักษณะนี้

คำว่า "ผู้รับประกันภัย" ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้

คำว่า "ผู้เอาประกันภัย" ท่านหมายความว่า คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย

ม.ธ.ก.