หน้า:ประชุมกฎหมายประจำศก (๐๘) - ๒๔๗๘.pdf/234

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑๗

ลักษณลูกทาษซึ่งเกิดแต่ทาษทั้ง ๗ จำพวกตั้งไว้เปนพระราชกำหนดกฎหมายสำหรับแผ่นดินเพื่อจะให้เปนคุณเปนประโยชน์มีความศุขเจริญแก่ชนชาวสยามต่อไปภายน่า แต่ทรงพระราชดำริห์วิตกอยู่ว่า ด้วยคน ๒ จำพวกจะไม่ทราบชัดเข้าใจถนัดในพระราชดำริห์พระราชประสงค์ซึ่งทรงจัดเปนพระราชบัญญัติขึ้นครั้งนี้ คือ คนพวกหนึ่งที่มีสันดานอันหนาแน่นอยู่ด้วยธรรมเนียมเดิมซึ่งเปนของชั่ว ประกอบแต่การกดขี่กันแลกัน คนมีเงินข่มเหงคนจน คนวาศนามากกดขี่คนวาศนาน้อย ตามอย่างจารีตโบราณแต่เดิม ๆ มานั้น ก็จะไม่เปนที่ชอบใจ พูดกันไปกันมาว่า ซึ่งโปรดตั้งพระราชบัญญัติลดพิกัดกระเษียรอายุลูกทาษลงชั้นหนึ่งแล้ว ๆ เมื่อลูกทาษอายุถึง ๒๑ ปีหลุดค่าตัวแล้ว ก็ห้ามมิให้ช่วยไถ่กันได้ต่อไป ดังนี้ เจ้านายข้าราชการแลผู้มีทรัพย์ทั้งปวงที่ไม่เคยทำกิจการงานด้วยแรงตนก็จะต้องทนทุกข์ลำบากทำการเอง เพราะจะไม่มีทาษแลลูกทาษใช้สอยเปนพาหะนะกำลังช่วยทำมาหากินประกอบกิจราชการต่าง ๆ จะได้ความลำบากยากเย็นเปนอันมาก ฝ่ายคนพลเรือนแลไพร่เลวยากจนขัดสนลง จะเอาบุตรเอาหลานไปขายฝากไว้ภอแก้ขัดไปบ้างเหมือนอย่างแต่ก่อนภอผ่อนจนไปก็ไม่ได้ ฝ่ายคนอีกจำพวกหนึ่งซึ่งเปนคนดีมีความกรุณาเมตาตามธรรมเนียมที่ควรที่ชอบ ได้ยินได้ฟังการศิวิไลของใจตนต่างประเทศ ก็จะนึกไปว่า ซึ่งโปรดตั้งพระราชบัญญัติเรืองลูกทาษลูกไทยไว้ครั้งนี้ ก็เปนการดีการชอบ คงจะรุ่งเรืองแก่บ้านเมือง ราษฎรจะอยู่เย็นเปนศุขขึ้นบ้าง แต่ยังจะช้าอยู่ที่ทาษจะเลิกให้หมดเหมือนเมืองศิวิไลยเศดชั่นนั้นด้วยพระราชบัญญัติใหม่ยังมิได้