หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๔) - ๒๔๗๒ a.pdf/9

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ตามพระราชหัดถเลขาที่ปรากฏมาดังนี้ ควรนับถือว่า หนังสือเรื่องคำให้การมะยิหวุ่นนี้เป็นหนังสือแต่งดีด้วยอีกสถาน ๑

       

คำให้การมหาโค มหากฤช นั้น มหาโคเป็นไทยชาวกรุงเก่า พะม่าจับเอาไปกับพระเจ้าอุทุมพร คือ ขุนหลวงหาวัด (ในคำให้การเรียกว่า เจ้าวัดประดู่) ไปพลัดกันที่เมืองแปร มหาโคตกค้างอยู่ที่นั่น ได้โอกาสจึงบวชเป็นพระภิกษุอยู่หลายพรรษา แล้วสึกออกมาได้ภรรยา มีลูกชาย คือ มหากฤช ทั้งพ่อลูกพึ่งบุญอยู่ในพระมเหษีของพระเจ้ามังระซึ่งเป็นมารดาของเจ้าจิงกูจา อยู่มาจนเจ้านายสิ้นบุญแล้วค่อยหลบเลี่ยงจากราชธานีของพะม่ามาโดยลำดับ แล้วบวชเป็นพระพากันหนีมาเหมืองไทยทางเมืองเชียงใหม่ มาถึงกรุงเทพฯ ในรัชชกาลที่ ๒ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๕๓ เจ้าพนักงานจึงถามคำให้การเรื่องประวัติของพระมหาโค มหากฤช ตลอดจนเรื่องราวเหตุการณ์ในเมืองพะม่าในเวลาพระมหาโค มหากฤช อยู่ที่นั่น ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มูลเหตุของคำให้การทั้ง ๒ เรื่องมีดังกล่าวมานี้

คำที่เรียกว่า มหาโค มหากฤช บางทีจะชวนให้ผู้อ่านสงสัยว่า เป็นเปรียญฤๅอย่างไร จึงเรียกว่า "มหา" ข้อนี้ได้ทราบมาว่า แต่ก่อน คำว่า มหา ไม่ได้เรียกฉะเพาะแต่เปรียญ พระภิกษุองค์ใดซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุปการะแล้ว ถ้าเป็นอนุจร ก็เรียกว่า มหา ทั้งนั้น จะยกตัวอย่างเช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต วัดระฆัง ท่านไม่ได้เข้าแปลหนังสือ แต่ว่าเทศน์เพราะมาแต่เป็นเณร พระบาทสมเด็จพระพุทธ