หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๗) - ๒๔๖๓.pdf/22

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๖

ด้วยปี้ ฤๅคนเล่นจะเอาเงินปลีกไปแลกปี้ แลเอาเงินบาทแตกปี้มา แทงแต่แรกก็ได้ เมื่อคนเล่นจะกลับจากบ่อนก็เอาปี้ส่งนายบ่อนเปลี่ยนเอาเงินกลับมาบ้าน การใช้ปี้แต่แรกเปนแต่คะแนนสำหรับเวลาเล่นเบี้ยดังกล่าวมานี้ แต่ทีหลังมาคนเล่นขี้คร้านแลกเงินทุกวัน ๆ ก็เลยพกปี้กลับมาบ้านเรือน โดยเชื่อว่าจะไปแลกเอาเงินเมื่อใดก็ได้ แล้วเลย ใช้หนี้สินซื้อหากันด้วยปี้ โดยความไว้ใจนายอากรบ่อนเบี้ย ปี้จึง กลายเปนอย่างธนบัตร เกิดประโยชน์แก่นายอากรบ่อนเบี้ย อย่างธนบัตรเปนประโยชน์แก่ธนาคารขึ้นอิกอย่าง ๑ ว่าที่แท้เปนประโยชน์แก่นายอากรยิ่งกว่าธนบัตรเสียอิก เพราะมีเวลาดังเช่นนายอากรจะเปลี่ยนตัวก็ดี ฤๅมีผู้สั่งปี้ปลอมเข้ามาก็ดี ถ้านายอากรจะเลิกปี้เดิม เมื่อใด เพียงเอาม้าล่อตีที่น่าบ่อนประกาศบอกว่าจะเลิกปี้อย่างนั้น แลให้เวลาสักสิบสี่สิบห้าวันแล้ว พ้นไปใครจะเอาปี้ไปขอแลกเงินก็ไม่รับ นายอากรจึงได้กำไรในการใช้ปี้มาก ด้วยเหตุนี้ใครเปนนายอากรบ่อนเบี้ยก็คิดทำปี้ขึ้นใหม่เรื่อยมา มีผู้ที่ได้ลองรวบรวมปี้ต่าง ๆ ว่ามีปี้ กว่า ๕,๐๐๐ อย่าง จนประกาศห้ามเมื่อในรัชกาลที่ ๕ จึงได้เลิกปี้แต่นั้นมา ๗ ส่วนความรับผิดชอบของขุนพัฒน์ผู้เปนนายอากรบ่อนเบี้ยนั้นนอกจากที่ต้องรับผิดชอบทำการอากรให้เรียบร้อยโดยสุจริต ยังต้อง ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปีทุกคราว แลต้องรับผิดชอบแทนผู้ที่เข้าหุ้นส่วนด้วย เพราะถ้าหากว่าเงินหลวงติดค้าง พระคลังมหาสมบัติ เร่งเอาแต่แก่ขุนพัฒน์คนเดียว ถ้าไม่ส่งเงินได้ตามงวด เจ้าพนักงาน