หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๗) - ๒๔๖๓.pdf/8

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ต่อมาถึงครั้งล่ำปักเฉียว เวลาเมืองจีนแตกกันเปนภาคเหนือกับภาคใต้ ต่างรัฐบาลกัน ในระหว่าง พ.ศ. ๙๖๓ จน พ.ศ. ๑๑๓๒ ในสมัยนั้น การเล่นที่เรียกว่า อีจี๋ (ทำนองจะเปนเพราะเอาสิ่งอันใดกองแทนกระแปะให้สังเกตง่ายขึ้นจึง) เรียกแปลงชื่อว่า "ทัวหี่" แปล ว่า เล่นแจง.

ครั้นต่อมาเมื่อราชวงศ์ถังเปนใหญ่ ในระหว่าง พ.ศ. ๑๑๖๑ จน พ.ศ. ๑๔๕๐ มีผู้แปลงชื่อการเล่น "ทัวหี่" มาเรียกว่า "ทัวจี๋" แปลว่า แจงกระแปะ (เพราะกลับเล่นด้วยกระแปะ) แต่ทุกวันนี้เรียกกันเปนหลายอย่าง เรียกว่า "กิมจี๋ทัว" แปลว่าแจงกระแปะทอง (เพราะว่ากระแปะที่เล่นนั้นขัดปลั่งเหมือนกับทอง) ก็มี เรียกกว่า "ทัว" แปลว่า ถั่วเท่านั้น บ้างก็มี คงเรียกว่า "ทัวจี๋" ก็มี เรื่องมูลเหตุของการเล่นแจงมีมาดังนี้.

เรื่องเหตุเดิมที่จะเกิดการเล่นโป ซึ่งจีนเรียกว่า "ป๊อ" นั้น ยังไม่พบอธิบาย ได้ความแต่ว่าเ ปนของคิดขึ้นที่อำเภอเจี๋ยวอาน ในมณฑลฮกเกี้ยน แลว่า มีขึ้นในสมัยเมื่อตอนปลายราชวงศ์ใต้เหมงฤๅเมื่อต้นราชวงศ์ใต้เชงเปนใหญ่ในเมืองจีน ประมาณราว พ.ศ. ๒๑๐๐ เพราะฉนั้นโปเปนของมีขึ้นทีหลังถั่วช้านาน (โปมี ๒ อย่าง เราเรียกว่า "โปกำ" เพราะกำเหมือนถั่ว ผิดกันแต่วิธีแทงอย่าง ๑ เรียกว่า "โปปั่น" ใช้ครอบทองเหลืองมีลิ้นรูปเหมือนลูกบาตอยู่ข้างใน ปั่นไปครอบไปจนได้เหลี่ยมแล้วเปิดฝา ซีกขาวที่ลิ้นอยู่ตรงแต้มไหนถือว่า