หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๘) - ๒๔๖๒.pdf/18

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒

ห้างของพระเจ้ากรุงสยามซึ่งโปรดให้ไปอยู่ในเมืองโน้น ๆ สำหรับเปนธุระดูแลราชภาระก็เปนแขกเปอเซียนอิกด้วย. การที่จะเอาใจให้มีมานะอุสาหะทเยอทยานหาความชอบให้ได้ราชการนั้น ทรงยกย่องให้มีเกียรติยศเปนถึงที่ราชทูต (อ่านไม่ออก) ในเมืองนนทบุรี (สงไสย) ที่นี้ก็มีพ่อค้ามาก (อ่านไม่ออก)

(ต่อนี้ไปอิกประมาณหลายสิบบรรทัด, เลือนเต็มที เหลือนิไสยซึ่งจะอ่านเอาความได้)

มีเรือสำเภาปีละลำหนึ่งบ้าง สองลำบ้าง ส่งไปยังเมืองยี่ปุ่น, แลเมืองกึงตั๋ง, แลบางทีไปยังเมืองเอ้หมึง, แต่พระมหากษัตริย์แต่ชั่วส่งไปยังเมืองมนิลาปีละหนึ่งลำทุกปี, การแต่งเรือทั้งการเดินเรือแลการค้าขายนั้น ให้จีนจัดการทั้งที่ในเมืองนี้ก็เหมือนกันกับที่เมืองต่างด้าว ผู้จัดการนั้นเปนนายห้างต้นเรือนฤๅผู้รับใช้อิกต่อหนึ่ง ท่านเจ้าพนักงานใหญ่นั้นเปนข้าราชการของพระมหากษัตริย์ เปนคนมีบุญอำนาจวาศนามาก ตำแหน่งยศของท่านนั้น ออกยาศรีพิพัฒน์

เรือสำเภาอื่น ๆ ในท่าเมืองนี้เปนของเจ๊กแทบทั้งสิ้น เว้นไว้แต่ ๒ ลำฤๅ ๓ ลำ เปนของพ่อค้าชาติอื่น

เรือสำเภาที่ไปเมืองยี่ปุ่นนั้นออกในเดือนมิถุนายนแลกลับในเดือนมกราคม สินค้าที่เกิดในเมืองนี้ที่บรรทุกระวางเรือนั้น ก็ตามที่ได้กล่าวแล้ว, คือ ฝาง, น้ำตาล, เชรูน, (ไม่รู้ว่าอะไร) งาช้าง, แลเขาต่าง ๆ บ้าง พวกจีนก็สามารถที่จะหาอำนาจแย่งพวกบริษัทวิลันดาที่ผูกขาดได้บ้างเหมือนกัน, นอกนั้น ยังบรรทุกผ้าต่าง ๆ