หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑๙) - ๒๔๖๓.pdf/53

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๔๖

สกุลที่ทรงพระเยาว์ ก็ทรงยอมให้สมาคมกับแขกเมืองชาวอังกฤษได้อย่างกิริยาเปนฉันทมิตรสนิทสนม เรื่องราวของคณะทูตต่าง ๆ และจดหมายเหตุของผู้ที่ได้เข้ามาเยี่ยมเยือนกรุงสยามแต่ก่อน มีแต่บันทึกเรื่องร้องทุกข์ที่ถูกขัดขวางไม่ยอมให้กระทำ ความคุ้นเคยพูดจากับราชสำนัก แลมีการหวงห้ามตามขนบธรรเนียมและพิธีของชาวสยามมากมาย นาย ครอฟอร์ดก็ดี รายาปรุก และ เสอร ยอน เบาริงก็ดี ก็ได้กล่าวความเหล่านี้ไว้ และท่านเหล่านั้นได้เล่าเรื่องราวอย่างยืดยาวว่าธรรมเนียมการกีดกันต่าง ๆ เช่นนั้นมีอยู่ทั่วไป จนกระทำความขัดข้องแก่พวกในคณะ ของท่านมากมายแม้แต่เรื่องเหน็บกระบี่เข้าเฝ้าก็ต้องถูกห้ามปราม แต่ในคราวนี้ไม่มีการแสดงให้แขกเมืองรู้สึกอย่างเช่นนั้นเลย พระเจ้าแผ่นดินและขุนนางของพระองค์กลับสมาคมกับแขกเมือง อย่างยอมให้อิศระเท่ากับเปนผู้เสมอกัน และดูเหมือนจะมุ่งให้คล้อยตามธรรมเนียมของแขกที่มาหา การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชนชาติที่ไม่เคยยอมเปลี่ยนแปลงดังนี้ ดูเปนเครื่องหมายว่าความไม่ยอมเขยื้อนออกจากที่ของพลเมืองนั้น ยังอาจมีทางจะได้รับความคล้อยไปตามชาติที่มีความเจริญ เพราะความคุ้นเคยกับประเทศที่มีความเจริญต่อไปในวันน่า ชาวสยามโดยปรกติ เปนคนมีอัธยาไศรยสงบเสงี่ยมและน่า คบหา ทั้งเฉลียวฉลาดและว่องไว แต่ดูชอบสนุกมากกว่าทำการ