หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๑) - ๒๔๕๗.pdf/176

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๑๕๕
แปลหลักศิลาเมืองศุโขไทย ที่ ๒

ด้วยทองสัมฤทธิ์บริสุทธิ์เท่าพระองค์ท่านไว้เปนพระประธานในพระอุโบสถจึงพระราชทานนามอารามว่า สังฆาวาศอารามวิหาร ทุกวันนี้ชาวเหนือเรียกชื่อว่า (วัดสังกวาด) อธิบาย พระองค์มีพระราชประสงค์พระโพธิญาณในอนาคตกาลแลปราถนาเปนพระพุทธเจ้าเพื่อจะนำสัตว์ให้พ้นจากสงสารวัฏไปสู่พระนฤพานในอนาคตกาล แล้วทรงหล่อรูปพระศรีอาริย์พระองค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้ในพระวิหารคตทิศใต้ในอารามครั้งหนึ่งตรัสสั่งนายศิลปีนายช่างให้หล่อรูปพระนเรศร พระมเหศวร พระวิศณุกรรม รูปพระสุเมธวรดาบศ พระศรีอาริย์ ทั้งห้ารูปนี้ประดิษฐานไว้ในหอเทวาไลยมหาเกษตรพิมาน ไว้เปนที่นิพัทธบูชา ณตำบลป่ามะม่วง พระองค์ทรงเล่าเรียนพระพุทธวจนะไตรปิฎกธรรมชำนิชำนาญ พระสูตรพระวินัยพระอภิธรรม โดยโลกาจารย์ทรงทรมาน พระองค์สั่งสอนยะติพราหมณ์ตปศวี ทรงพระราชบัญญัติคัมภีร์สาตราคม เปนประถมธรรมเนียม ทั้งเนปรไชยาคิราธารคือคติตำราทินปาฏิบทมาศ ศวไรยคราธจันทรคราธยังเสร็จ พระองค์ทรงพระปรีชาโอฬาริกวิรคุณานุคุณ ไม่มีผู้ใดในสยามประเทศจะเสมอพระองค์ พระองค์อาจเลือกสรรพิจารณาให้ทราบถนัดแน่ในอธิกมาศทินะปาระนักษัตรสังเกดฤดูโดยกรรมประสิทธิ์ สมเด็จพระบรมบพิตรอาจจะถอนจะลบยกเปนปีเดือนตามศิลป คณนาอนุสิทธิศักดิ์พระคัมภีร์ทุกมาตรมิได้เคลื่อนคลาศเลย เสด็จเสวยราชสมบัติในกรุงศรีสัชชนาไลยศุโขไทยราชธานีได้ ๒๒ ปี ลุมหาศักราช ๑๒๘๓ ศกฉลู สมเด็จพระบรมบพิตร ตรัสใช้บัณฑิตย์ไปอาราธนาพระมหาสามิสังฆราช