หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๒) - ๒๔๕๗ b.pdf/55

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๔๕

ใหญ่กว่าหัวเมืองทั้งปวง แล้วก็เปนที่พำนักอาไศรยแก่เมืองแขก แลลูกค้าวานิชนา ๆ ประเทศไปมาค้าขายมิได้ขาด เจ้าพระยานครสูงอายุ ว่า หลงลืม จะทำราชการสืบไปมิได้ ก็ให้เจ้าพระยานครเลื่อนขึ้นเปนเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ศรีโศกราชวงษ์ เชษฐพงษ์ฦาไชย อนุไทยธิบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ แลพระบริรักษ์ภูเบศร์นั้นเปนผู้ช่วยราชการมาในเจ้าพระยานครช้านาน รู้ขนบธรรมเนียม สัตย์ซื่อมั่นคง แล้วก็ได้คุมกองทัพไปต่อเรือรบเรือไล่ยกไปตีอ้ายพม่าณเมืองถลางจนเสร็จราชการ จับได้อ้ายพม่าแลปืนส่งเข้าไปเปนอันมาก พระบริรักษ์ภูเบศร์มีความชอบ สมควรที่จะชุบเลี้ยงให้ออกไปรั้งเมืองครองเมืองสำเร็จกิจศุขทุกข์ของอาณาประชาราษฎรต่างพระเนตรพระกรรณได้ ให้เอาพระบริรักษ์ภูเบศร์ ผู้ช่วยราชการเปนพระยานครศรีธรรมราช ออกมาว่าราชการรักษาบ้านเมืองสำเร็จกิจศุขทุกข์ของอาณาประชาราษฎรณเมืองนครสืบไป จึงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ ผู้ช่วยราชการ เปนพระยาศรีธรรมาโศกราช ชาติเดโชไชย มไหสุริยาธิบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ พระยานครศรีธรรมราช ออกมาว่าราชการรักษาบ้านเมืองสำเร็จกิจศุขทุกข์ของราษฎรด้วยกรมการเมืองนครตามพระราชกำหนดกฎหมายพิกัดอัตราอย่างธรรมเนียมสืบมาแต่ก่อน แลให้กรมการฟังบังคับบัญชาพระยานครศรีธรรมราชคนใหม่แต่ซึ่งชอบด้วยราชการ อย่าให้ถือเปรียบแก่งแย่งเสียราชการไปแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ แลให้พระยานครมีน้ำใจโอบอ้อมเมตตากรุณาแก่สมณะชีพราหมณ์ ไพร่บ้านพลเมือง ลูกค้าวานิช ให้อยู่เย็นเปนศุข จะกะเกณฑ์ใช้