หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๕) - ๒๔๖๐ reorganised.pdf/34

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
๒๑

องค์ที่ออกจากราชการ) ชื่อเจี่ยวปะล่อยก[1] ให้ราชทูตนำราชสาสนกับสิ่งของในพื้นประเทศมาถวาย เจ้าพนักงานก็ตอบแทนสิ่งของแลเลี้ยงราชทูตเหมือนกันกับราชทูตอ๋ององค์ที่ยังอยู่ในราชสมบัติ

แผ่นดินหงบู๊ปีที่ ๑๐ เตงจี๋ (ตรงปีมะเสงจุลศักราช ๗๓๙) ซูมั่นบังอ๋องให้สี่จื๊อชื่อเจี่ยวหลกควานอินมาเฝ้า[2] พระเจ้าไถ่โจ๊วฮองเต้มีความยินดี รับสั่งให้ยงไวล่าง (ขุนนางในกระทรวงแบบธรรมเนียม) ชื่ออองหัง

ซึ่งเปนเจ้าพนักงานในลีปู๋ (กระทวงแบบธรรมเนียม) ตอบราชสาสน กับตราไปให้อ๋องดวงหนึ่ง อักษรในดวงตรามีว่า เสี้ยมหลอก๊กอ๋องจืออิ่น (ตราของเสี้ยมหลอก๊กอ๋อง) แลประทานเครื่องยศกับค่าใช้จ่ายในระหว่างไปมาให้แก่สี่จื๊อเจี่ยวหลกควานอิน ตั้งแต่นั้นต่อไป ก็เรียกชื่อประเทศตามอักษรในดวงตราว่าเสี้ยมหลอก๊ก แลเคยมาถวายบรรณาการเจริญพระราชไมตรีเสมอปีละครั้งก็มี สามปีสองครั้งก็มี ครั้นพระเจ้าไถ่โจ๊วฮองเต้จัดราชการ


  1. ที่เรียกว่า เจี่ยวปะล่อยก เดาได้แต่ว่าเจ้าพระอะไร ต่อไปเดาไม่ถูก แต่หมายความว่า พระรามราชาที่เปนพระราชโอรสของพระราเมศวรนั้นเปนแน่ ควรจะสังเกตเห็นได้อิกอย่าง ๑ ว่า การถวายบรรณาการพระเจ้ากรุงจีนนั้น ในประเทศอัน ๑ เจ้านายเมืองไหน ๆ จะไปถวายก็ได้ คือ พระองค์ไหนแต่งเรือไปค้าขายเมืองจีน ก็ฝากบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน ไม่เปนบรรณาการของรัฐบาลนั้นตรงทีเดียว
  2. เจ้านครอินทร์นี้ต่อมาได้ครองราชสมบัติต่อแผ่นดินสมเด็จพระรามราชา เพราะฉนั้น เปนพระเจ้าแผ่นดินไทยพระองค์ที่ ๒ รองแต่พระเจ้ารามคำแหงที่ได้เสด็จไปเมืองจีน.