หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๖) - ๒๔๖๐.pdf/66

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๙

พระเจ้าเอกทัศ ด้วยพวกขบถไปทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรให้ครองราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทูลความให้สมเด็จพระเชษฐาธิราชทราบ แต่ทูลขออย่าให้ประหารชีวิตร์พวกขบถ ด้วยพระองค์ผู้ทูลความเปนสมณะ เกรงจะมัวหมองทางพระวินัย สมเด็จพระเอกทัศจึงให้จับหัวน่าพวกขบถจำไว้ ส่วนกรมหมื่นเทพพิพิธนั้นให้ฝากเรือกำปั่นไปปล่อยเสียลังกาทวีปด้วยทรงผนวชเปนภิกษุภาวนาอยู่ ในเวลากำลังยุ่งกันอยู่อย่างนี้ ศึกพม่าก็มีเข้ามาเมื่อปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๒๑ พ,ศ, ๒๓๐๒

ตามความที่ผู้หลักผู้ใหญ่เล่าสืบต่อกันมา ยุติต้องกับจดหมายเหตุครั้งนั้น เช่น หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า แลรายการที่ปรากฎในพระราชพงษาวดาร ตลอดจนพงษาวดารพม่า แลจดหมายเหตุของพวกบาตหลวงที่อยู่ในกรุงศรีอยุทธยาเวลานั้น ว่า กำลังผู้คน สะเบียงอาหาร แลเครื่องสาตราวุธทั้งปวง กรุงศรีอยุทธยามีบริบูรณ์ทุกอย่าง ครั้งนั้น ขาดแต่ผู้ที่มีความสามารถจะคิดอ่านแลบัญชาการศึก ไม่ได้สืบสวนว่า ข้าศึกจะมาทางไหนบ้าง แลกำลังข้าศึกมากน้อยเท่าใด ได้ข่าวหัวเมืองบอกเข้ามาว่า สืบสวนได้ความว่า ข้าศึกจะยกเข้ามาทางไหน ก็แต่งกองทัพออกไปคอยต่อสู้ข้าศึกทางนั้น มีจำนวนกองทัพปรากฎในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า ให้พระยารัตนาธิเบศร์ ผู้ว่าที่ธรรมาฯ ยกไปคอยต่อสู้พม่าที่มาทางเมืองตนาวศรี ทัพ ๑ ให้พระยาพระคลังยกไปตั้งที่เมืองราชบุรี ทัพ ๑ ให้พระยาสีหราชเดโชไชย