หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๐) - ๒๔๘๔.pdf/222

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๐๖

วะระพุทธสาสนาเป็นอันยิ่ง จริงปงประสิทธิพระพอน ลายจูมดวงนี้ไว้กับวัดหาพระแก้วที่นี้ แต่พระพุทธศักราชสาสนาแห่งพระบรมสัพพัญญูเจ้าล่วงไปแล้ว ๒๓๕๓ ตัวปีซะง้า เดือน ๕ แรม ๒ ค่ำ วัน ๔ ประกอบด้วยนัขขัตะลึก ถึกนวยชื่อว่าสวัสดี ยอวัดหอพระแก้วที่นี้ พระพุทธรูปเจ้าในพระทานนั้น สมเด็จพระเป็นเจ้าให้ช่างผู้ที่คิดริดจะนา ปัจติสังคะละณะ ฝาผนังอาลามนั้น สมเด็จพระเป็นเจ้าเหล่าจ้างช่างในเขียนพระพุทธรูปพันพระองค์ บอเท่าแต่นั้น สมเด็จพระเป็นเจ้าเหล่าจ้างช่างทั้งปวงช่างแปงพระพุทธรูปเจ้าร้อยปลายสิบสามพระองค์ตั้งไว้ในพระระเบียงจมกมทั้ง ๔ ด้าน ฝาผนังจมกมละเบียงทั้ง ๔ ด้านนั้น สมเด็จพระเป็นเจ้าเหล่าส้างพระพิมใส่ไว้มีสองพันหกร้อยปายสองพระองค์ เพื่อให้เป็นที่นมัศการไหว้สักการะบูชา หิตะหีตาปราโยชะนาแก่สัปปูรูดมนุษย์กุทพันคันทะพระนาคาคุลุดธาเทวา คะณะยาสาปันจาวัสสาหัสสานิ ตาบเท้า ๕ พันพระวัดสา คะละณาแต่สมเด็จพระเป็นเจ้าสาละสางวางไป ยังปัจจัยชาติ ราชสมบัติ ส้างแปง โชติตะณา วอระพระพุทธสาสนาที่นี้ แต่คำปิวหนักสามแสนสองหมื่นสองพันปายสองร้อยสามสิบเก้ากีบ เงินปิวหมื่นสี่พันปายเจ็ดร้อยเก้าสิบหกกีบ คิดเป็นดา (เงินตรา) สี่สิบเก้าชั่งสิบตำลึงปายบาทสองสลึงเฟื้อง น้ำหนักหกร้อยปายสามสิบเจ็ดคนาน คิดเป็นเงินตาหกชั่งเจ็ดตำลึงปายบาทสองสลึง แก้วประดับหนักห้าหมื่นเก้าพันปายห้าร้อยชั่ง คิดเป็นเงินตาชั่งเก้าตำลึงปายสามบาท (เหล็ก) เก้าแสนปายสามหมื่นห้าพันหัว เป็นเงินตาสามชั่งปายสิบตำลึง ปูน