หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๑) - ๒๔๘๑.pdf/111

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๙๗

ธิราชนั้นคิดไปพึ่งอำนาจญวน แต่เจ้าเขมรน้องชาย ๓ องค์ คือ นักพระองค์สงวน นักพระองค์อิ่ม นักพระองค์ด้วง ไม่เห็นด้วย เกิดวิวาทกันขึ้นในปีมะแม ตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ (พ.ศ. ๒๓๕๔) มีคฤศตศักราช ๑๘๑๑ ปี นักพระองค์จันทร์สมเด็จพระอุทัยราชาธิราชเจ้าเมืองเขมรทิ้งเมืองเสียหนีไปหาญวน เจ้าเขมรผู้น้อง ๓ องค์หนีเข้ามาพึงกรุงเทพมหานคร ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามเป็นที่ ๒ ในพระบรมราชวงศ์นี้ได้ให้กองทัพออกไปรักษาเมืองเขมร แล้วจะจัดให้นักพระองค์สงวนเจ้าเขมรผู้น้องนักพระองค์อิ่มรักษาเมืองต่อไป ครั้งนั้น เจ้าเวียดนามถาลวงเจ้าแผ่นดินเมืองญวนแต่งทูตให้มาหาแม่ทัพไทยที่เมืองเขมร และแต่งทูตให้เชิญพระราชสารเข้ามากรุงเทพมหานครขอโทษนักพระองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรเก่า และว่า นักพระองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรหาได้มีความผิดคิดประทุษร้ายแก่กรุงเทพมหานครไม่ เป็นแต่พี่น้องวิวาทกัน ฝ่ายน้องเข้ามาฟ้อง ณ กรุงเทพมหานคร มีความตกใจ จึ่งหนีไปขอให้ญวนเป็นที่พึ่ง ญวนจะขอเมืองคืนให้นักพระองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรองค์เก่าตามเดิม บรรณาการที่เคยส่งแก่กรุงเทพมหานครอยู่ทุกปีก็จะให้ส่งอยู่ตามเคย สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามก็โปรดตามการที่ญวนขอ เจ้าเขมรผู้น้อง ๓ องค์ก็ตกอยู่ในกรุงเทพมหานคร นักพระองค์จันทร์เจ้าเมืองเขมรเพราะได้ไปพึ่งญวนได้คืนที่เป็นปกติแล้วแต่นั้นมาก็รับยอมส่งบรรณาการแก่ญวนทุก ๆ ที่สุด ๓ ปี แต่ส่งกรุงเทพมหานครนี้เสมอทุกปีตามเดิมตั้งแต่รัชชกาลที่ ๒ มาจนถึงรัชชกาลที่ ๓

ครั้นปีมะเส็ง เบญจศก จุลศักราช ๑๑๙๕ (พ.ศ. ๒๓๗๖) มีคฤศต

๑๓