หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๑) - ๒๔๘๑.pdf/12

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(จ)

(ช) พระราชพงศาวดาร รัชชกาลที่ ๒ เริ่มความตั้งแต่เขมรโบราณเสื่อมอำนาจ ไทยฟื้นอิสสระภาพในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเกิดมีประเทศจำปาขึ้นที่ปากน้ำโขง สืบต่อมาจนถึงสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันท์) เจ้ากรุงกัมพูชา คิดประทุษร้ายไทย แต่งกองทัพมารุกล้ำดินแดนเมืองพัตบองเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียง พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ โรงพิมพ์ไทย สะพานยศเส

(ค) พระราชพงศาวดาร รัชชกาลที่ ๓ กล่าวความตั้งแต่สมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันท์) เจ้ากรุงกัมพูชา ถูกญวนกดขี่จนได้สำนึกแล้ว แต่งให้พระยาพระเขมรคุมเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวายเพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ต่อมาจนถึงนักองด้วงได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ราชาภิเษกเป็นสมเด็จพระหริรักษรามาธิบดีใน พ.ศ. ๒๓๙๐ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรียบเรียง พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงพิมพ์ศรีหงส์

(ฆ) พระราชพงศาวดาร รัชชกาลที่ ๔ กล่าวความตั้งแต่สมเด็จพระหริรักษรามาธิบดีขอพระราชทานเปลี่ยนนามาภิไธยใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ ต่อมาจนถึงองค์พระนโรดม (นักองราชาวดี) แต่งข้าหลวงให้มาประชุมปักเเขตต์แดนระหว่างเขมรกับไทยใน พ.ศ. ๒๔๑๐ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์เรียบเรียง พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ โรงพิมพ์พระจันทร์

(๙) พงศาวดารเมืองพระตะบอง ของเจ้าพระยาคทาธรธรณินทร์ (เยียบ อภัยวงศ์) พิมพ์เป็นประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๖ พ.ศ. ๒๔๖๒ โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร