หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๑) - ๒๔๘๑.pdf/4

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ชพงศาวดารของเก่าซึ่งยังไม่เคยได้ตีพิมพ์อีกเรื่องหนึ่ง ควรเป็นที่ยินดีของนักศึกษาทางประวัติศาสตรไม่น้อย พระราชพงศาวดารเขมรฉะบับนี้แปลจากต้นฉะบับภาษาเขมรเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๑ เป็นปีที่ ๒๗ ในรัชชกาลที่ ๑ กล่าวความตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๑๘ ถึง พ.ศ. ๒๑๖๑ สังเกตข้อความที่มีกล่าวไว้ในนั้นเป็นเรื่องว่าด้วยพระราชพิธีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศเขมรสมัยนั้น ทำนองจะเป็นพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจะใคร่ทรงทราบระบอบแบบบุราณราชประเพณีของเขมรเพื่อมาสอบกับของสยาม เพราะประเทศสยามยุคก่อนหน้านั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาสรรพตำหรับตำราที่เป็นแบบแผนคงเป็นอันตรายถูกข้าศึกเผาผลาญสูญหายไปเป็นอันมาก ในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลพระราชพงศาวดารเขมรฉะบับนี้ขึ้นก็คงมีพระราชประสงค์ดังกล่าวมาข้างต้น

เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์และพงศาวดารเขมรอย่างย่อ นำมารวมไว้ในเล่มนี้เพื่อให้แพร่หลายสะดวกแก่การสอบสวนง่ายขึ้น

ส่วนราชพงศาวดารญวน ต้นฉะบับเป็นสมุดไทย เส้นรงค์ ลายมือเก่า องเชียงสือ (พระเจ้าเวียดนามยาลอง) ครั้งยังอยู่ ณ กรุงเทพมหานคร ได้ให้องเปดตรึงและองเปดจัดร้อยกรองเป็นเรื่องสังเขปถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาได้มีผู้แก้ไขถ้อยคำสำนวนบ้าง ตกเติมเรื่องให้พิสดารอีกบ้าง ดังพิมพ์อยู่ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๒๘ และที่เก็บความไปลงในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร รัชชกาลที่ ๑ ฉะบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เรียบเรียง (ยัง