หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๗๑) - ๒๔๘๑.pdf/8

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(ข)

(๒) เรื่องพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ กล่าวความตั้งแต่พระอินทราธิราชทรงพระสุบินว่า แก้วมณีโชติหลุดจากพระโอษฐ์ตกลงในเปือกตมเมืองมนุษย์ ครั้นทรงหยั่งทราบเหตุการณ์ภายหน้าคลอดแล้ว จึ่งมีเทวโองการให้เกตุเทวบุตรจุติลงมาถือปฏิสนธิในครรโภทรแห่งพระนางเทพวดี ท้าวโกเมราช พระเจ้านครเขมราช ต่อมาจนถึงกษัตริย์องค์หนึ่งสืบวงศ์มาแต่พระเจ้าปักษีจำกรงลอบเสด็จเข้าไปในไร่บุรุษแตงหวาน ๆ สำคัญว่าเป็นโจร จึ่งปลงพระชนม์เสียด้วยหอกคู่มือ แล้วมุขมนตรีทั้งปวงพร้อมกันกราบทูลเชิญบุรุษแตงหวานนั้นให้ขึ้นทรงราชย์ ทรงพระนาม พระเจ้าสุริโยพันธุ์ ครองอินทปัตถมหานคร

(เรื่องพระเจ้าแตงหวานของเขมรนี้ คล้ายกับเรื่องพระเจ้าแตงกวาของพะม่า ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองกรุงภุกามเมื่อประมาณ ๑๕๐๐ ปีเศษล่วงมาแล้ว เป็นเรื่องแสดงให้เห็นพระราชสิทธิและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ดึกดำบรรพ์ ดังมีตรงกับเรื่องเตลปัตตชาดก คัมภีร์ชาตกัฏฐกถา ภาคสอง หน้า ๒๔๓ เป็นต้น)

พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๑๗ รวมอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดารย่อ เป็นเวลา ๖๔ ปี ล่วงแล้ว พิมพ์ครั้งที่ ๒ ในเล่มนี้

(๓) เรื่องราวของเมืองเขมร กล่าวความตั้งแต่เขมรยังแผ่อำนาจเข้ายึดการปกครองไทยตลอดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาจนถึงราชวงศ์แตงหวาน สมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจันท์) เอาใจออกหากจากไทยไปฝักใฝ่ข้างญวน ถึงกับเกิดวิวาทกันในหมู่พี่น้องในระหว่างรัชชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า