หน้า:ประชุมพงศาวดาร (ภาค ๘) - ๒๔๖๐.pdf/3

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(๒)

โกษฐ เรื่อง ๑ หนังสือ ๕ เรื่องนี้มีลักษณต่างกันอย่างไร จะอธิบายต่อไปโดยลำดับ.

 หนังสือจดหมายเหตุโหรนั้น จะอธิบายถึงลักษณที่โหรจดหมายเหตุให้ผู้ซึ่งยังไม่เคยทราบได้ทราบก่อน คือ วิธีจดหมายเหตุของโหร เขาทำประดิทินบอกวันแลฤกษ์ยามเปนรายวันล่วงน่าไว้ตลอดปี แลมีที่ว่างไว้สำหรับจดเหตุการณ์ในประดิทินนั้น โหรฤๅใครที่เอาใจใส่ในฤกษ์ยามแลการจดหมายเหตุก็มีสมุดประดิทินเช่นนี้ไว้ในทำนองเดียวกันกับที่ฝรั่งเรียกว่า สมุดไดเอรี เมื่อมีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้นในวันใดซึ่งผู้เจ้าของประดิทินเห็นควรจะจดจำ ก็จดลงไว้ในประดิทินตรงช่องวันนั้น วันที่ไม่มีเหตุการณ์จะจดก็ปล่อยว่างไว้ ทำกันเช่นนี้มาแต่โบราณ แต่ผู้ที่มีประดิทินไว้จดหมายเหตุมีมากด้วยกัน ความรู้เห็น ความนิยม ต่างกัน จดหมายเหตุที่ลงประดิทินจึงต้องกันบ้างต่างกันบ้าง เมื่อนานเข้ามีผู้ดิทินปีล่วง ๆ มาแล้วมาจดวันฤกษ์ยามแลเหตุการณ์ลงเปนสังเขปอิกชั้น ๑ เรียกว่า ปูม หนังสือปูมนี้ฉบับที่มีในหอพระสมุดฯ ๒๐๘ ปี ตั้งแต่ประจำปีฉลู จุลศักราช ๑๐๗๑ พ.ศ. ๒๒๕๒ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระครั้งกรุงเก่าเปนต้นมา นอกจากนี้ ยังมีจดหมายเหตุก่อนเก่าขึ้นไปกว่าปูมที่มีโหรจดลงไว้เปนจดหมายเหตุเบ็ดเตล็ดอิกหลายฉบับ กรรมการรวมหนังสือเหล่านี้มอบให้พระเทวโลก (แหยม วัชรโชติ) คัดแต่เฉภาะจดหมายเหตุการณ์ซึ่งปรากฎในจดหมายเหตุโหรแลปูมบรรดามีในหอพระสมุดฯ เรียบเรียงโดยลำดับเวลา