หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/15

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
พระราชปรารภ

ไตรยปิฎกธรรมนั้นฟั่นเฟีอนวิปริตผิดเพี้ยนไปเปนอันมาก ยาก
ที่จะเล่าเรียนเปนอายุศมพระพุทธสาศนาสืบไป ก็ได้อาราธนา
ประชุมเชีญพระราชาคณะทังปวง มีสมเดจ์พระสังฆราชแล
พระธรรมอุดมพระพุทธโฆษาจารยเปนประธาน ฝ่ายราชบัณ
ฑิตยนั้น พญาธรรมปรีชาเปนต้น ให้ทำสังคายนายชำระพระ
ไตรยปิฎกสอบใส่ด้วยอรรฐกะถาฎีกาให้ถูกต้องตามพระพุทธ
บัญหญัติ พระไตรยปิฎกจึ่งค่อยถูกถ้วนผ่องใสขึ้นได้ เปน
ที่เล่าเรียนง่ายใจแก่กลบุตรสืบไปภายหน้า ก็เปนพุทธ
การกธรรมกองการกุศลอันประเสริฐแล้ว แลฝ่ายข้างอาณา
จักรนี้ กระษัตรผู้จดำรงแผ่นดินนั้นอาไศรยซึ่งโบราณราชนิติ
กฎหมายพระอายการอันกระษัตรแต่ก่อนบัญหญัติไว้ได้เปน
บันทัดถาน จึ่งพิภากษาตราสีนเนี้อความราษฎรทังปวงได้โดย
ยุติธรรม แลพระราชกำหนดบทพระอายการนั้นก็ฟั่นเฟีอน
วิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเปนอันมาก ด้วยคนอันโลภหลงหา
ความลอายแก่บาปมิได้ ดัดแปลงแต่งตามชอบใจไว้พิภากษาภา
ให้เสียยุติธรรมสำหรับแผ่นดินไปก็มีบ้าง จึ่งทรงพระ
กรรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดข้าทูลลอองทุลี
พระบาทที่มีสะติปัญญา ได้
ม.ธ.ก.