หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๑) - ๒๔๘๑.pdf/9

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

ลำดับมูลคดีในพระธรรมสาตร ทั้งไม่ตรงกับลำดับที่ฉะบับหลวงเรียงใส่ตู้ไว้ จะเห็นได้จากการที่กฎหมายลักษณะลักพาซึ่งในฉะบับหลวงเขียนรวมอยู่กับกฎหมายลักษณะมูลคดีวิวาท ในฉะบับพิมพ์กลับแยกเอาไว้คนละเล่ม ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า ลำดับกฎหมายในฉะบับพิมพ์หาได้อาศัยเรียงลำดับตามฉะบับหลวงไม่ อีกประการหนึ่ง ฉะบับหลวงที่เหลืออยู่ก็ไม่มีเครื่องหมายอันใดอันจะทำให้เชื่อว่า ต้องเรียงตามลำดับอันหนึ่งอันใด

โดยเหตุเหล่านี้ ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงได้พยายามเรียงลำดับกฎหมายตรา ๓ ดวงเพื่อให้สะดวกในการค้นหา ซึ่งจะได้พิมพ์เป็น ๓ เล่ม ในเล่ม ๑ รวมบทกฎหมายลักษณะทั่วไป กฎมณเฑียรบาล กฎหมายลักษณะปกครอง กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลและพิจารณาคดี กล่าวคือ บรรดาบทกฎหมายซึ่งเรียกว่า กฎหมายมหาชนในสมัยปัจจุบัน ในเล่ม ๒ รวมกฎหมายเอกชน และกฎหมายอาญา ส่วนเล่ม ๓ รวมกฎหมายซึ่งมิได้จัดอยู่ตามมูลคดี เช่น กฎหมายพระสงฆ์ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนดเก่า ฯลฯ ซึ่งโดยมากเป็นบทกฎหมายที่ไม่สู้เก่าแก่เช่นกฎหมายที่รวมไว้ในเล่ม ๑ และเล่ม ๒

บทกฎหมาย เรียกตามชื่อที่เขียนอยู่หน้าปกสมุดฉะบับตรา ๓ ดวง ซึ่งบางบทผิดกับชื่อที่ได้เรียกกันมาตามฉะบับพิมพ์ เช่น กฎหมายที่เรียกกันว่า "กรมศักดิ์" และ 

ม.ธ.ก.