หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๒) - ๒๔๘๑.pdf/74

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๒
ทาษ

ทาษ ๗ ประการดั่งนี้ควรจะใช้ได้
 อนึ่ง ทาษอันมิควรจะใช้ได้นั้น ๖ ประการ มีบาฬีดังนี้
  • มุญฺจนา ภิกฺขุทาสา จ พฺราหฺมณทานทาสกา[1]
  • ทาโส เม ติ ภิกฺขุํ อตฺถิสิลา อญฺเญชนา
  • เขตฺตทาสา ติ ฉฏฺเฐว ทาสกมฺเม น ลพฺภเร
 อธิบายว่า ฉฏฺฐ เอว ทาสา อันว่าทาษไม่ควรจะว่า ทาษไม่ควรจะใช้ มี ๖ ประการ มุญฺจนา[2] คือทาษอันโปรดเสียมิได้ใช้ ๑ ภิกฺขุทาสา จ คือทาษอันตนโปรดให้บวดเปนสมณ ๑ พฺราหฺมณทานทาสกา[3] คือทาษอันตนโปรดให้ไปแก่พราหมณหนึ่ง ทาโส เม ติ ภิกฺขุํ ภิกฺขุ คือภิกษุต่อภิกษุจะว่ากัน[4] เปนทาษนั้นมิได้ ๑ อตฺถิสิลา อญฺเญชนา คือผู้อื่นอันมั่นในศิลาธิคุณมาพึ่งพำนักอยู่ จะว่าเปนทาษนั้นมิได้ ๑ เขตฺตทาสา คือผู้มาอาไศรยอยู่ในคามเขดที่เรือนสวนไร่นาแห่งตน ตนจะว่าผู้นั้นเปนทาษมิได้ ๑ เปน ๖ ประการด้วยกัน ทาษ ๖ ปรการนี้ ทาสกมฺเม น ลพฺภเร อันบุทคนมิควรจะพึ่งใช้ในทาษกรรมกรแห่งตนได้
 ทีนี้ จะกล่าวสาขคดีอันมีตามมูลคดีวิวาท โดยพระราช

  1. ต้นฉะบับ: พฺรหฺมณทาสตา
  2. ต้นฉะบับ: มญฺจนา
  3. ต้นฉะบับ: พฺราหฺมณทาสกา
  4. ต้นฉะบับ: คำว่า กัน ตกไป
ม.ธ.ก.