หน้า:ประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ (๒) - ๒๔๘๑.pdf/75

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๗๓
ทาษ

บัญญัติจัดเปนบทมาตราสืบมาดั่งนี้
 ศุภมัศดุ ๑๓๕๙ มะแมนักสัตว อาสาทมาศ ศุกขปักษย เอกาทัศมีดฤษถี จันทวาร พระบาทสมเดจพระเจ้ารามาธิบดินทรนะรินทรบรมมหา[วซ 1] จักระพรรดิราเมศวรราชเดโชไชยะ พรหมเทพาดิเทพตรีภูวนาธิเบศ บรมบพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว เสดจณพระธินั่งบุษบกมาลามหาไพชยณปราสาทโดยบูรรพาพิมุกข ทรงพระอนุสรคำนึงตามคำภีรพระธรรมสาตรแล้ว มีพระราชโองการมาณพระบันทูล[1] สุรสีหนาทพระราชบัญญัตไว้ว่า
 ทาษควรจะใช้ในทาษกรรมมี ๗ ปรการในคำภีรพระธรรมสาตร คือข้าสีนไถ่ปรการ ๑ คือลูกทาษเกิดในเรือนเบี้ย[2] ปรการ ๑ คือทาษได้มาแต่ บิดา
มารดา
ปรการ ๑ คือทาษท่านให้ปรการ ๑ คือทาษอันได้ด้วยช่วยกังวลแห่งคนอันต้องทันธโทษประการ[3] ๑ คือทาษอันได้เลี้ยงมาเมื่อกาลทุภิกขะปรการ ๑ คือทาษอันได้ด้วยชะเลยปรการ ๑ เปนเจตปรการดั่งนี้
2
 จักกล่าวลักษณทาษสีนไถ่ก่อน ไถ่ทาษมี ๓ ปรการโดยพระธรรมสาตรกล่าว ดั่งนี้ ประการหนึ่ง ไถ่มิได้ขาดข้า (ประ

  1. ต้นฉะบับ: พระทูล
  2. ต้นฉะบับ: เบีย
  3. ต้นฉะบับ: คำว่า ประการ ตกไป
  1. มีใบบอกแก้คำผิดว่า ตรงนี้ "ควรมีเชิงอรรถว่า ต้นฉะบับ: บรมหา"
ม.ธ.ก.