หน้า:ประวัติฯ ศรีสุริยวงศฯ - ดำรง - ๒๔๗๒.pdf/19

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๒

เสนาบดีประเทศอังกฤษ มาว่ากล่าวจะให้แก้สัญญา จะประมาทไม่ได้ ด้วยรัฐบาลอังกฤษเอากำลังเข้ารบพุ่งบังคับให้จีนทำสัญญามาไม่ช้านัก ได้โปรดฯ ให้ตระเตรียมป้องกันปากน้ำไว้อย่างแขงแรง ครั้นเซอร์เชมสบรุกมีหนังสือมา จึงมีรับสั่งให้เขียนข้อพระราชดำริพระราชทานออกมาให้เสนาบดีกับผู้อื่นซึ่งทรงเลือกสรรโดยฉะเพาะให้ประชุมปรึกษากัน ความในกระแสรับสั่งแห่งหนึ่งว่า "การครั้งนี้เป็นการฝรั่ง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทราบอย่างธรรมเนียมฝรั่งมาก ควรจะเอาเป็นที่ปรึกษาใหญ่ได้ ก็แต่ว่า ติดประจำปืนอยู่ที่เมืองสมุทปราการ จมื่นวัยวรนาถ (คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ) เล่า ก็เป็นคนสันทัดหนักในอย่างธรรมเนียมฝรั่ง ก็ลงไปรักษาเมืองสมุทปราการอยู่ แต่ทว่า เห็นจะได้พูดจาปรึกษาหารือกับเจ้าพระยาพระคลังแล้ว ก็เห็นจะถูกต้องกันกับเจ้าพระยาพระคลัง" ดังนี้[1] กระแสรับสั่งที่กล่าวมา พระราชทานออกมาเมื่อณวันอังคาร เดือน ๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ คือ ก่อนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็สวรรคตเพียง ๘ เดือน ปรากฏว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศยังเป็นที่จมื่นวัยวรนาถอยู่ เพราะฉะนั้น เห็นจะได้เลื่อนเป็นที่พระยาศรีสุริยวงศ ตำแหน่งจางวางมหาดเล็ก[2] เมื่อจวนจะสิ้นรัชชกาลที่ ๓ และเป็นพระยาอยู่ไม่ถึงปี ก็ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยา


  1. จดหมายการปรึกษาครั้งนั้น หอพระสมุดฯ ได้พิมพ์แล้วในเรื่อง เซอรเชมสบรุกเป็นทูตเข้ามาประเทศสยาม
  2. ในรัชชกาลที่ ๒ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศได้เป็นที่พระยาสุริยวงศมนตรี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติได้เป็นที่พระยาศรีสุริยวงศ ตำแหน่งจางวางมหาดเล็กทั้ง ๒ คน