หน้า:ประวัติฯ ศรีสุริยวงศฯ - ดำรง - ๒๔๗๒.pdf/28

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๑

พระองค์ไว้เสียก่อน แล้วตัวเซอจอนเบาริงจึงเชิญพระราชสาสนของสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีขอทำหนังสือสัญญาในระวางประเทศที่เป็นอิสสระด้วยกันเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งข้าหลวง ๕ คน คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระองค์ ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ องค์ ๑ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ องค์ ๑ เจ้ายาศรีสุริยวงศ คน ๑ เจ้าพระยา (รวิวงศ ผู้ช่วยราชการกรมท่า) ว่าที่พระคลัง คน๑ ให้เป็นผู้ปรึกษาข้อสัญญากับเซอจอนเบาริง

การปรึกษาสัญญาคราวนี้ เมื่อพิจารณาดูเรื่องราวซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุ[1] เป็นการลำบากมิใช่น้อย ด้วยรัฐบาลอังกฤษได้วางแบบหนังสือสัญญาไว้เมื่อรบชะนะประเทศจีนว่า จะทำสัญญากับประเทศทางตะวันออกเป็นทำนองเดียวกันหมด ไม่ใช่มาปรึกษาหาความตกลงตามแต่จะสะดวกด้วยกันทั้งสองฝ่าย หรือถ้าว่าอีกอย่างหนึ่ง เสมออังกฤษร่างหนังสือสัญญาเข้ามาแล้ว ยอมให้ไทยแก้ไขแต่พลความ ส่วนใจความอันเป็นข้อสำคัญ เช่น ว่าด้วยอำนาจของกงสุลซึ่งจะให้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ดี สิทธิของคนในบังคับอังกฤษที่จะไม่ต้องอยู่ในบังคับของรัฐบาลไทยเพียงใดก็ดี ยุตติมาเสียแล้ว มีการปรึกษาแต่ด้วยเรื่องเก็บภาษีอากรแก่คนในบังคับอังกฤษ อังกฤษขอให้เลิกภาษีผูกขาดอย่างปิดซื้อปิดขายตลอดจนวิธีซื้อขายของพระคลังสินค้า เปลี่ยนเป็นเก็บ


  1. ความพิศดารทางฝ่ายอังกฤษกล่าว แจ้งอยู่ในหนังสือเซอจอนบาวริงแต่งว่าด้วยเรื่องประเทศสยาม เล่ม ๒ ตอนที่ ๑๖