หน้า:ประวัติ - ปิติ วาทยะกร - ๒๕๑๒.pdf/8

หน้านี้ได้ตรวจสอบแล้ว

เด็จพระบรมชนกนาถ รัชกาลที่ ๔ ซึ่งมีพระสหายเป็นต้นว่า ท่านสังฆราชปัลเลกัวส์ (Bishop J. Baptiste Pallegoix) หัวหน้ามิสซังคาทอลิคฝรั่งเศส หมอคาสเวลล์และหมอเฮาส์แห่งคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมิชชั่น เป็นอาทิ บุคคลหนึ่งซึ่งสมเด็จกรมพระยาฯ ทรงยกย่องเป็นพิเศษว่า เป็นชาวต่างประเทศที่มีความรู้ทางภาษาไทยเป็นเยี่ยม ถึงกับเคยประกวดได้รับรางวัลที่ ๑ ของสามัคยาจารย์สมาคม ทางโคลงฉันท์กาพย์กลอน ไร่เรี่ยกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธพงศ์ มาหลายครั้ง และอัจฉริยบุรุษต่างด้าวผู้นี้ก็หาใช่ใครที่ไหนไม่ นอกจากท่านภราเธอร์ฮีแลร์แห่งโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งนับได้ว่า เป็นเอตทัคคะทางภาษาไทยคนหนึ่ง ซึ่งอัสสัมชนิกและไม่ชนิกก็ยินยอมนับถือว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยไม่น้อยไปกว่าภาษาฝรั่งเศสซึ่งเป็นภาษามารดาของท่าน ฉะนั้น จึงไม่เป็นการแปลกประหลาดอะไรที่สมเด็จกรมพระยาจอมปราชญ์ของเราจะไม่ทรงขอแรงจากสหายของท่านผู้คงแก่เรียนให้ช่วยแปลเรื่องราวทั้งหมดที่กองต์ ดอนโน เดอ วิเซ ได้บันทึกไว้ ออกมาเป็นภาษาไทยโดยตรง ไม่ต้องผ่านจมูกภาษาอื่น ซึ่งนับว่า เป็นการลัดประหยัดเวลาและความยุ่งยากไปได้ไม่น้อย ท่านภราเธอร์ฮีแลร์ (ตอนนี้เล่าจากปากของท่านที่ได้เห็นกับตา) คือ แทนที่จะเอากระดาษและดินสอมานั่งขีด ๆ เขียน ๆ แปลจากฝรั่งเศสมาเป็นไทยเหมือนอย่างเราท่านทั้งหลายมักจะทำกัน ท่านภราเธอร์ฮีแลร์กางหนังสือของเดอ วิเซ บนขาตั้งรองรับต้นฉบับ แล้วท่านก็ลงมือจิ้มพิมพ์ดีดภาษาไทยสมิทพรีเมียร์ด้วยสองนิ้วของท่าน เป็นบทความไทยไปเลย โดยให้ชื่อเรื่องว่า “ทูตไทย” บทความอันนี้ ท่านได้ส่งต้นฉบับไปถวายกรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นตอน ๆ ไป และได้นำเอาสำเนามาลงพิมพ์ในหนังสืออัสสัมชัญอุโฆษสมัย และตลอดบทความในหนังสือที่ท่าน

– 6 –